วันพุธที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓

แถลงการณ์องค์กรกลุ่มเสรีปัญญา ชน

แถลงการณ์ องค์กรกลุ่มเสรีปัญญาชน

นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทาง เมือง ตั้งแต่ปลายปี 2549 จนเกิดการรัฐประหารของ คมช. เกิดการแตกแยกแนวความของคนในสังคม เกิดความวุ่นวายทางการเมือง และไม่มีวีแววว่าปัญหาดังกล่าวจะยุติลงอย่างไร และเมื่อไร

เรากลุ่มเสรีปัญญาชน ตัวแทนของกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ อันประกอบด้วย นักเรียน นิสิต นักศึกษา ทุกระดับ ทุกสถาบันการศึกษา ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์ทางเมืองด้วยความห่วงใย ด้วยสิทธิความเป็นพลเมืองเจ้าของประเทศ ที่จะเข้ามาดูแลประเทศในวันข้างหน้า หากปัญหาทางการเมืองส่งผลกระทบต่อความมั่นคง มั่งคั่ง ของเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ย่อมมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของคนในสังคมไทยในวันข้างหน้า

ด้วยตระหนักถึงปัญหา อาศัยสิทธิความเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองไทย ถึงเวลาที่ต้องระดมกำลัง และแนวคิดของกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้วิกฤติชาติครั้งนี้ ให้ผ่านพ้นไปด้วยความสงบ เรียบร้อย และนำความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติกลับมา

ในนามองค์กรกลุ่มเสรีปัญญา ชน ขอเชิญชวนบรรดานักเรียน นิสิต นักศึกษา เยาวชนคนรุ่นใหม่ เข้าร่วมระดมความคิด ระดมมันสมอง ระดมกำลัง ร่วมผลักดันแก้ปัญหาวิกฤติชาติครั้งนี้


กลุ่มองค์กรเสรีปัญญาชน

16 ก.พ. 2553

วันจันทร์ที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓

Taksin voice เชิญร่วมงานเสวนาวิเคราะห์ สถานการณ์"ยึดเขย่าเมือง ล่าขุมทรัพย์

ยึดเขย่าเมือง-เวบThailandmirror และนิตยสาร Taksin voice เชิญร่วมงานเสวนาวิเคราะห์สถานการณ์"ยึดเขย่าเมือง ล่าขุมทรัพย์76,000ล้าน 26 กุมภาพันธ์เส้นแบ่งแห่งความยุติธรรม"

ในวันที่23ก.พ.ที่ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ 13.00-17.00
น.พบกับสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พงศ์เทพ เทพกาญจนา สุนัย จุลพงศธร จารุพงศ์
เรืองสุวรรณ ลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์
สอบถาม

0811048842
0892059513

สุรชัย แซ่ด่าน แกนนำกลุ่มแดงสยามเลยจะจัดเวทีปราศรัยซะหน่อยในช่วงวันที่ 25 26 และ 27 กุมภาพันธ์นี้
ที่สนามหลวง เริ่ม
5 โมงเย็น หากใครอยากไปฟังก็ไป ไม่ต้องถืออะไรไปด้วยนะ ไปฟังเฉยๆโดยสงบปราศจากอาวุธก็พอ...***

***กลุ่มกรุงเทพ 50 จะจัดเสวนาทิศทางประเทศไทย ปี 53 วันที่ 22 ก.พ. เวลา 18.00-22.00 น.
ในรูปแบบโต๊ะจีน
200 โต๊ะ ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ โดยเชิญนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นายคณิน บุญสุวรรณ อดีต สสร.นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา และนายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ซึ่งไฮไลท์สำคัญคือการวีดิโอลิงก์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

การจัดเสวนาดังกล่าวมีขึ้นก่อนจะมีการตัดสินคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาท เพียง 4 วัน จะได้รู้ถึงจิตใจของอดีตนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นว่าเป็นอย่างไร รวมทั้งวิเคราะห์ว่าบ้านเมืองจะเป็นอย่างไรต่อไป สำหรับรายได้ในการจัดงานจะมอบให้สาธารณะกุศล บางส่วนจะนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยประเทศเฮติ มูลนิธิเด็กพิการซ้ำซ้อน มูลนิธิเด็กปัญญาอ่อน***

***" งานรวมพลคนเสื้อแดง พัทยา ภาคตะวันออก และคนเสื้อแดงทั่วประเทศ "
ก่อนคืนที่จะถูกตัดสินยึดทรัพย์ งานนี้พบกับการแสดงละครเวที พร้อมแสงสีเสีงแบบอลังการงานสร้าง เรื่อง " ยึดทรัพย์ & ปล้นทรัพย์ " ของทักษิณ ชินวัตร .....นำแสดงโดย คุณอริสมันต์ - คุณวรชัย - คุณอารีย์ - แกนนำคนเสื้อแดงภาคตะวันออก ฯลฯ พร้อมด้วยการ โฟนอินจาก ทักษิณ ชินวัตร และพบกับพิธีกรความจริงวันนี้ คุณวีระ มุสิกพงษ์ - คุณจตุพร พรหมพันธ์ - คุณณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ - คุณอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง - นิสิต สินธุไพร - คุณอดิศร เพียงเกษ - สุรชัย แซ่ด่าน - นพ.เหวง - คุณก่อแก้ว - พตท.ไวพจน์ - พตท.สุทิน - คุณพายัพ - คุณวรชัย (แรมโบ้ อีสาน) - คุณสมชาย ไพบูลย์ - คุณวิสา คัญทัพ - คุณสุนัย - คุณไพจิตร อักษรณรงค์ - คุณดารุณี - คุณอารีย์ - ทีมงานคนรักประชาธิปไตยเมืองพัทยา และแกนนำภาคตะวันออก ฯลฯ

ในวันพฤหัสบดี ที่ 25 กพ.นี้ ณ ลานประชาธิปไตย ตรงปากซอยเขาตะโล ถนนสุขุมวิท เยื้องสามแยกเทพประสิทธิ์ พัทยาใต้ งานนี้ " ฟรี " ตลอดทั้งงาน.... เริ่มงานเวลา 16.00 น.เป็นต้นไป ... ถ่ายทอดสดทาง People Channel

ติดต่อสอบถาม Tel. 038-422-114
คุณจุรีพร 080-646-4678, 085-282-9517 , 081-862-6857, 081-819-9183
จันทบุรี สจ.สำเริจ 086-338-4988
ระยอง คุณระพิน
081-256-1233 .
ปราจีนบุรี นพ.สง่า 087-108-3483
แดงสัมพันธ์
คุณอี๊ด 081-864-2463
ตราด คุณชูชีพ
081-945-3535
ชลบุรี ดาบแดง
083-828-7665
ฉะเชิงเทรา
คุณกาน 087-133-3522
สระแก้ว ปัญญา
081-864-1533
ศรีราชา จิ๋ม 081-723-7130
บางพระ คุณอ๋อ
081-113-144
หนองปรือ สุวัฒ
081-821-6564
ตะเคียนเตี้ย-โรงโป๊ะ ไก่ 083-257-5159
บอวิน บุญยัง
086-070-5102
เพื่อเป็นกำลังใจให้กับ คุณทักษิณ ชินวัตร ก่อนคืนที่จะถูกตัดสินยึดทรัพย์ ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ www.pattayared.com / FM 89 MHz***

***นปช.สุรินทร์ แดงทั้งแผ่นดิน (เราคือภาคประชาชน) แจ้งช่าวมา จะทำการขอรับบริจาค เงิน และอาหารเพื่อเป็นเสบียง ใช้ในการร่วมชุมนุมใหญ่ขับไล่อมาตยา สนับสนุน นปช.ส่วนกลาง ในวันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 16.00 -20.00 น. โดยประมาณ ณ ร้านอาหาร ส.ปลาเผา ปั๊ม ปตท. หน้าเทคโนโลยีราชมงคล เพื่อสร้างความสัมพันธ์กำลังใจอันดีแก่ผู้นำมวลชนทุกอำเภอที่จะนำทัพร่วมชุมนุม และเป็นการเปิดโอกาสให้มวลชนผู้มีกำลังทรัพย์ได้แสดงความจริงใจสนับสนุนกิจกรรมของ นปช.แห่งชาติ

นปช.สุรินทร์คณะผู้ดำเนินงานยังขาดทุนทรัพย์ และ อาหาร จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์ ผู้มีอุปการคุณที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของนโยบายนปช. แห่งชาติ(แดงทั้งแผ่นดิน) ร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์ สิ่งของตามกำลังสมควร พร้อมกันนี้ขอเชิญร่วมรับประทานอาหารค่ำ ทำบัตรสมาชิก นปช. แดงทั้งแผ่นดิน พบปะคนมีอุดมการณ์เดียวกันในวันและเวลาดังกล่าว***

***นปช.อุตรดิตถ์ โดยการนำของนางมัณฑนา(ป้าแป๋ว) เชียงไฝและคนายปัณณวัฒน์ นาคมูลพบปะมวลชนคนเสื้อแดงเพื่อจัดตั้งแกนนำระดับตำบลและหมู่บ้าน ตามโครงสร้างของนปช.อุตรดิตถ์โดยยึดรูปแบบการขยายมวลชนสู่ฐานรากของสังคมคือหมู่บ้าน ดังนี้

24 ก.พ. 53 (19.00 น.) บ้านแกนนำ ม.3 ต.นานกกก อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์



พบกับพิธีกรวัยรุ่นน้องบลูและน้องฟางแสนสวยและน่ารักทั้งวิทยากร(สว.)สุดมันส์เวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามาภระกิจของดนเสื้อแดงในพื้นที่คนเสื้อแดงที่อยู่ใกล้เคียงเชิญเข้าร่วมไม่เสียค่าใช้จ่ายมีแต่ได้ความรู้เรื่องการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันแท้จริงเป็นอาวุธ***

ขอบเชิญรวมงานทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับ คุณสลักจิต แสงเมือง(พี่ยุ้ยyable)

ขอเชิญสมาชิกห้องแคมฟร๊อกซ์ voice_of_change และ www.thaiseri.net รวมทั้งนักรบไซเบอร์ทุกท่าน
รวมงานทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับ คุณสลักจิต แสงเมือง(พี่ยุ้ยyable)ในวันที่7มีนาคม2553
ณ.วัดพระยาศิริไอยสวรรค์ เวลา 11.00น.(เลี้ยงเพลพระ10รูป) หรือ
ร่วมบริจาคทำบุญช่วยงานได้ที่ ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาโลตัสทาวน์อินทาวน์ ธนะกฤษฎิ์ 401-7391569
(ผู้ร่วมบริจาคกรุณาแจ้งชื่อIdกับโอเนอร์ด้วย) อนุโมทนาบุญด้วยครับ

สัมภาษณ์สด พระมหาโชว์ ทัสสนีโย

สัมภาษณ์สด พระมหาโชว์ ทัสสนีโย กับกรณีวิกฤติชาติและปัญหาการเมือง ในยุคสังคมไร้มาตรฐานใกล้กลียุค สัมภาษณ์โดยดีเจ เอก ซึ่งร่วมสนับสนุนและจัดทำโดย ห้องแคมฟรอก ซาวด์ ออฟเรดไทย ห้องเรดไซเบอร์คลับ และ ห้องไทยภูพานรูม หรือ สามารถติดตามรับฟังการสัมภาษณ์สดพระอาจารย์ มหา ดร.โชว์ ทางเวบไซท์สดๆได้ที่ http://www.redcyberclub.co.cc/ ในวันที่ 24 กพ.53 ตั้งแต่ 19.00 น.เป็นต้นไป


วันศุกร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓

บท ความ เพื่อนครูจูหลิงเปิดใจนาทีถูกทำร้าย ร้องขอชีวิตแต่ไม่มีใครสนใจ

บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
ไม่มีใครคาดคิดว่าการใช้ศาลเตี้ยจับครูสาวชาวไทย พุทธ 2 คน เป็นตัวประกันเพื่อต่อรองให้รัฐปล่อยตัวผู้ต้องสงสัยฆ่านาวิกโยธินเสียชีวิต จะบานปลายถึงขั้นลงมือทุบตีครูจนได้รับบาดเจ็บสาหัสอย่างไม่มีเมตตาธรรม แม้จะร้องขอชีวิตจากกลุ่มชาวบ้านนับร้อยคนที่กำลังละหมาดอยู่ในมัสยิดกลับ ไม่มีใครสนใจทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

“ฉันคุยกับครูจูหลิง ว่าพวกเราผิดที่เกิดมาเป็นครูไทยพุทธ ถึงถูกทำร้ายเหมือนไม่ใช่มนุษย์ ผู้ชายมุสลิมนับร้อยคนที่ละหมาดยังไม่มีน้ำใจจะช่วยผู้หญิงที่ถูกรังแกอย่าง หมดทางสู้”

ไม่มีใครคาดคิดว่ายุทธการปิดล้อมของกองกำลังสามฝ่ายคือ ทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง ที่เข้าปฏิบัติการปิดล้อมหมู่บ้านกูจิงลือปะ หมู่ 4 ต.เฉลิม อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เมื่อช่วงเช้าตรู่วันที่ 19 พฤษภาคม เพื่อจับผู้ต้องหาฆ่า 2 นาวิกโยธิน จะส่งผลทำให้ครูสาวไทยพุทธ 2 คน ตกเป็นผู้รับเคราะห์แทน ด้วยฝีมือการเปิดม็อบของนางการีมะ มะสาและ ภรรยาผู้ต้องหาเพื่อต่อรองให้ปล่อยสามี

น.ส.ศิรินาถ ถาวรสุข ครูอัตราจ้างโรงเรียนบ้านกูจิงลือปะ เล่านาทีระทึกว่า วันเกิดเหตุเวลาประมาณเที่ยงเธอและเพื่อนครูคนอื่นๆ นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์เพื่อไปรับประทานอาหารที่ร้านก๋วยเตี๋ยวไม่มีชื่อ หน้าโรงเรียน ขณะกำลังรับประทานอาหารก็สังเกตเห็นว่ามีชาวบ้านซึ่งเป็นผู้หญิงแทบทั้งหมด รวมประมาณ 50 คน ออกมารวมตัวกัน ห่างจากกลุ่มครูไปประมาณ 40 เมตร

ในขณะนั้นไม่มีใครสนใจอะไร เพราะเข้าใจว่าชาวบ้านคงมารวมตัวเพื่อละหมาดตามปกติวันศุกร์ และมาทราบที่หลังว่าการรวมตัวของชาวบ้านเกิดจากทหารเข้าไปจับชาวบ้านผู้ต้อง สงสัยคดีความมั่นคง

กระทั่งกินก๋วยเตี๋ยวใกล้หมดชาม เพื่อนครูที่มาด้วยกัน บอกว่า ชาวบ้านพูดเป็นภาษามลายูผ่านเสียงตามสายของมัสยิดว่าให้มาร่วมตัวกันและจะ จับครูไทยพุทธเป็นตัวประกันเพื่อแลกกับผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมตัว ระหว่างนั้นเพื่อนครูได้นำผ้าคลุมศีรษะมาให้สวมเพื่อพรางตัว แต่ก็ไม่ทันเพราะเป็นจังหวะเดียวกันกับกลุ่มชาวบ้านหญิงเดินเข้ามาที่ร้าน พร้อมทั้งกระชากผ้าคลุมศีรษะออก และได้จับแขนลากออกไปนอกร้านทันที

น.ส.ศิรินาถ บอกอีกว่า ระหว่างที่ถูกลากตัวไปนั้นบังเอิญเธอสะดุดล้มเพื่อนครูมุสลิมที่นั่งด้วยกัน ได้ออกมาช่วยขอร้องกลุ่มชาวบ้านผู้หญิงว่า อย่าทำรุนแรงค่อยพูดค่อยจากันก็ได้ ทำให้กลุ่มชาวบ้านไม่พอใจผลักเพื่อนครูมุสลิมจนล้มไปอีกคน

ในขณะที่ตัวเธอถูกลากและตบตีด้วยมือจากผู้หญิงจำนวนมากเพื่อนำตัวขึ้นไปบน อาคารเรียนชั้น 2 เมื่อพบกับ น.ส.จูหลิง ปงกันมูล ผู้ช่วยครูซึ่งกำลังป่วยเป็นโรคกระเพาะ แต่กลุ่มชาวบ้านผู้หญิงก็ไม่สนใจยังลากครูจูหลิง ลงมาชั้นล่างพร้อมกับเธอ

น.ส.ศิรินาถ เล่าเหตุการณ์อีกว่า ขณะที่ถูกลากตัวไปนั้นชาวบ้านก็ลงมือทุบตีเราทั้งคู่ตลอดระยะทางไปมัสยิด ประจำหมู่บ้าน ที่มีชาวบ้านกว่า 100 คนกำลังละหมาดอยู่ เราได้ร้องขอความช่วยเหลือ แต่ชาวบ้านก็ยังคงก้มหน้าก้มตาละหมาดต่อไปตามปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

หลังจากนั้นก็นำตัวเธอและครูจูหลิง มากักขังไว้ที่ห้องเก็บของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ห่างจากโรงเรียนประมาณ 400 เมตร ในเวลาเดียวกันกลุ่มผู้ชุมนุมได้เข้ามาล็อกกุญแจขังเธอและครูจูหลิงเอาไว้

สภาพจิตใจตอนนั้นย่ำแย่เพราะกลัวมาก ภายในห้องมืดมากไม่เห็นอะไรเลย ทำได้อย่างเดียวคือการปลอบใจซึ่งกัน

เธอเล่าต่ออีกว่า เมื่อถูกขังประมาณ 5 นาที มีเพื่อนครูมุสลิมเข้ามางัดหน้าต่างดู แต่ชาวบ้านผู้หญิงที่คุมอยู่บอกว่าให้คุยกันได้แค่ 2 นาที เพื่อนครูคนหนึ่งถามเราว่าเป็นอย่างไรบ้าง เราตอบแต่เพียงว่าให้ช่วยชีวิตด้วย

เวลาผ่านไป 5 นาที ก็มีชายวัยรุ่นประมาณ 10 คนงัดประตูเข้ามาในห้องโดยไม่พูดพร่ำทำเพลง ทั้งหมดใช้ไม้ที่ถือมาด้วยกระหน่ำตีเราทั้งคู่จนสะบักสะบอม ด้วยความเจ็บปวดครูจูหลิงจึงขัดขืนต่อสู้ จนถูกตีเข้าที่ศีรษะและตามลำตัวอย่างไม่ยั้งมือจนแขนหัก ที่ศีรษะมีเลือดอาบโชกไปหมด นอนหมดสติ ส่วนเธอเองถูกชายคนหนึ่งกระทืบจนล้มลงนอนงอตัวกองกับพื้น ด้วยความกลัวจึงคลานเข้าไปใต้เตียงเก่าภายในห้อง แต่ก็ถูกกลุ่มชายวัยรุ่นลากตัวออกมาตีซ้ำอีก

ขณะที่ครูจูหลิงนอนสลบอยู่นั้น วัยรุ่นคนหนึ่งในกลุ่มพูดขึ้นว่า ต้องการจะจับครูเป็นตัวประกันเพื่อให้ปล่อยตัวชาวบ้านที่เจ้าหน้าที่จับกุม ไปก่อนหน้านี้ เธอเองก็บอกว่าจะช่วยเจรจากับเจ้าหน้าที่ให้ แต่กลุ่มวัยรุ่นก็ไม่ฟังเสียง ยังคงรุมตีพวกเธอต่อ ก่อนจะแยกย้ายกันวิ่งออกไปจากห้อง

"ฉันจับมือครูจูหลิงเพื่อปลอบ เห็นมือครูจูหลิงแสดงอาการตอบรับในขณะที่ศีรษะนั้นมีเลือดไหลออกมาเป็นลิ่มๆ ฉันจึงเอาศีรษะของครูจูหลิงมาแนบกับอกพร้อมกับพูดว่า หากผ่านวันนี้ไปอย่าลืมเหตุการณ์นี้ จงทำใจดีๆ ไว้ เพราะไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ถึงพรุ่งนี้หรือเปล่า" น.ศ.ศิรินาถ เล่าด้วยนำเสียงสั่นเครือ

นายมะดารี บาเยาะกาเซะ อายุ 47 ปี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 บ้านกูจิงลือปะ อ.ระแงะ บอกว่า หลังทราบเรื่องได้แจ้งไปทางนายอำเภอและปลัดจังหวัด แต่ไม่มีใครมา มอบหมายให้ตนและนายอารงค์ ยูโซะ ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน ช่วยเจรจาแทน แต่ตนก็ได้เจรจานานถึง 2 ชั่วโมง ขณะที่เจรจายังไม่รู้ว่าครูถูกทำร้ายจนกระทั่งได้ยินเสียงครูร้องขอความช่วย เหลือจึงได้นำกำลังชุด ชรบ.เข้าไปช่วยเหลือ

เขาบอกอีกว่า ขณะเข้าไปเห็นคนร้ายประมาณ 5 คนสวมไหมพรมคลุมหน้าตาวิ่งสวนออกมา จึงได้รีบเข้าไปช่วยและนำครูทั้งสองคนส่งโรงพยาบาลทันที จนกระทั่งทหารและตำรวจเข้ามาในพื้นที่ชาวบ้านจึงสลายตัวไป ส่วนคนร้ายตนไม่มั่นใจว่าเป็นคนในหมู่บ้านหรือไม่
ขอบคุณ
คม ชัด ลึก


วันศุกร์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓

กล้า หรือเปล่า


วันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7015 ข่าวสดรายวัน


กล้าหรือเปล่า


คอลัมน์ เหล็กใน




ในที่สุด ก็มีการลงดาบแรกเซ่นโผแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจระดับรองผบก.-สารวัตร

เมื่อ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รรท.ผบ.ตร.ลงนามคำสั่งย้ายพล.ต.ท.เกรียงศักดิ์ สุริโย ผบช.ภาค 2 ช่วยราชการที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติแบบไม่มีกำหนด

ตาม ภาษาชาวบ้านก็เรียกว่า "เด้งเข้ากรุ" !

ไม่บ่อยครั้งนักที่จะเห็น ตำรวจระดับผู้บัญชาการโดนเด้งโดนดึ๋งแบบนี้ ถ้าไม่ใช่พิษม็อบพิษการเมือง

กรณี นี้ต้องไล่เรียงกันตามเหตุการณ์

เริ่มจากมีการร้องเรียนเยอะว่าการ แต่งตั้งโยกย้ายตำรวจครั้งนี้ไม่เป็นธรรม

รรท.ผบ.ตร.แต่งตั้งพล .ต.ท.เอก อังสนานนท์ ผู้ช่วยผบ.ตร. เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบการแต่งตั้งโยกย้ายระดับรองผบก.-สว. ซึ่งผลการสอบสวนพบว่าในส่วนของบช.ภาค 2 มีปัญหาหลายอย่างที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์

บัญชีแต่งตั้งไม่ผ่านความ เห็นชอบจากบอร์ดกลั่นกรองระดับกองบัญชาการที่มีรองผบช.ทุกนายเป็นกรรมการ

บอร์ด กลั่นกรองไม่เซ็นรับรองคำสั่ง แต่ผบช.ภาค 2 ออกคำสั่งเอง

แสดงว่าโผ ชุดนี้ไม่ครบขั้นตอนการแต่งตั้งโยกย้ายตามกฎหมาย มีผลให้ต้องยกเลิกคำสั่งทั้งหมดในบช.ภาค 2

พล.ต.อ.ปทีปมอบหมายให้พล .ต.ท.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ช่วยผบ.ตร. รักษาการแทน และให้เร่งทำบัญชีการแต่งตั้งโยกย้ายใหม่ทั้งหมด ให้เสร็จทันวันที่ 16 ก.พ.นี้

นี่คือส่วนแรกที่มีการลงโทษในกรณีที่ออกคำสั่งขัดกับกฎหมาย และระเบียบก.ตร.

แต่ยังไม่หมดแค่นี้ เพราะภาคอื่นๆ หรือกองบัญชาการเกือบทั้งหมดยังต้องมีการตรวจสอบต่ออีก

โดยเฉพาะประเด็นการเซ็งลี้

พล.ต.อ.ปทีปต้องแสดงความชัดเจน ที่ไหนซื้อขายเก้าอี้ก็ต้องจัดการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน

จะให้ดีต้องไม่จัดการเฉพาะในส่วนของตำรวจ

ต้องสาวให้ถึงขบวนการนายหน้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนสนิทคนใกล้ชิดบิ๊กตำรวจ ที่รับวิ่งเต้นโยกย้าย เพราะยอดเงินเซ็งลี้หนนี้มหาศาลจริงๆ บางแห่งขายกัน 7-8 หลัก

ฟังแล้วน่าตกใจ ขายเก้าอี้กัน 10 ล้าน!?

รวมถึงบรรดานักการเมืองที่ฝากตำรวจกันเป็นล่ำเป็นสัน

แวดวงสีกากีร่ำลือกันว่าตั๋วเด็กนักการเมืองยาวยิ่งกว่าหางว่าว บางกองบัญชาการมีโควตาแต่งตั้งแค่ร้อยตำแหน่ง เจอตั๋วนักการเมืองเข้าไปเกือบเท่าตัวแล้ว

ตำรวจที่ทำงานจริงๆ แทบหมดสิทธิ์หมดหวังไปเลย

ฉะนั้น งานนี้จะเอาผิดเฉพาะตำรวจอย่างเดียวไม่ได้

ต้องเล่นงานให้หมดทั้งนายหน้าทั้งนักการเมือง

ยิ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ตั้งคณะกรรมการชุดใหญ่ขึ้นมาสอบสวนเรื่องนี้แล้ว มีอำนาจเหลือเฟือ

อย่าลงโทษเฉพาะลูกไก่ในกำมือเท่านั้น

ไม่งั้นสังคมจะประณามได้ว่า 2 มาตรฐาน

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2Iyd3dNakV5TURJMU13PT0=&sectionid=TURNd05BPT0=&day=TWpBeE1DMHdNaTB4TWc9PQ==

ความจริงVSความเท็จ:คดียึดทรัพย์ฉบับชาวบ้าน


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
11 กุมภาพันธ์ 2553

หมายเหตุไทยอีนิวส์:ไทยอีนิวส์ได้เรียบเรียงประเด็น"คดียึดทรัพย์ทักษิณ จะอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจง่ายๆได้อย่างไร?" จากการประมวลสรุปของคุณnirvana (คลิ้กดูรายละเอียด)มาเป็นคำถาม (Q:ข้อกล่าวหาของคตส.) และคำตอบ (A:คำอธิบายความจริง)โดยเพิ่มเติมบางประเด็น เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และง่ายต่อการเผยแพร่ยิ่งขึ้น หากท่านผู้อ่านเห็นด้วย กรุณาเผยแพร่สู่วงกว้างทุกวิถีทาง


Q:ก่อนทักษิณเป็นนายกฯมีเงินเพียง 3 หมื่นล้านบาท แต่ตอนขายหุ้นมีเงิน76,000ล้าน แสดงว่าโกงชาติ 4 หมื่นกว่าล้านบาท

A:ไม่ได้โกงชาติ แต่เนื่องจากทรัพย์สินของทักษิณเป็นหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ช่วงที่ทักษิณเป็นนายกฯตั้งแต่ปี2544มาถึงวันขายหุ้นออกในต้นปี2549 ดัชนีตลาดหุ้นไทยขึ้น หุ้นบริษัทชินวัตรของทักษิณก็ขึ้นด้วย มูลค่าทรัพย์สินก็เลยเพิ่มขึ้นตามราคาหุ้น

Q:ถ้างั้นก็จะให้ทักษิณคืนบางส่วนคือก่อนมาเล่นการเมือง3หมื่นล้านก็แล้วกัน ที่เหลือโกงชาติ4หมื่นล้านจะยึด

A:ก็บอกแล้วไงว่าไม่ได้โกง จะยึดหมดหรือยึดบางส่วนก็ย่อมไม่ได้ทั้งนั้นแหละ

Q:แต่ทักษิณใช้อำนาจในตำแหน่งนายกฯแก้ไขสัญญาสัมปทานลดส่วนแบ่งรายได้ให้ทศท. ทำให้รัฐสูญเสีย เป็นการโกงชาติ

A:คู่แข่งของบริษัทAIS(บริษัทในเครือชินวัตร)คือบริษัทDTACนั้นขอแก้ไขสัญญาลดส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐก่อน โดยจ่ายให้18% ทางAISจึงขอลดตรงนี้บ้าง โดยจ่ายให้รัฐ20% ซึ่งก็ยังมากกว่าDTAC หากบริษัทเครือชินวัตรผิด DTACไม่ผิดหนักกว่าหรือ..

ขณะเดียวกันเมื่อลดค่าต๋งสัมปทานให้ทศท. ทำให้เอกชนมาลดค่าบริการลูกค้า ทำให้มีคนใช้บริการขยายตัวสูงขึ้น จึงทำให้AISสามารถจ่ายเข้ารัฐได้เพิ่มขึ้นทั้งในรูปของค่าต๋งสัมปทาน ภาษีสรรพสามิต ภาษีนิติบุคคลรวมเป็น52,708ล้านบาท (สูงขึ้นเมื่อเทียบกับก่อนการลดค่าสัมปทาน)

Q:ทักษิณใช้อำนาจในตำแหน่งนายกฯทำให้AISสามารถมียอดขายสูงขึ้น เช่น นโยบายกองทุนหมู่บ้านละ1ล้านมาซื้อมือถือของทักษิณ และทำให้มีรายได้สูงมากขึ้น

A:ช่วงที่ทักษิณเป็นนายกฯ(2544-2549)AISมีผู้ใช้มือถือข่ายนี้เพิ่มขึ้นจริงคือ524% หรือ 5 เท่าตัว แต่ข่ายอื่น(DTAC TRUE HUTCH TOT)ก็สูงขึ้นรวมกันถึง1,403% หรือ14เท่าตัว เหตุก็เนื่องจากเมื่อลดนำส่งรายได้เข้าทศท.แล้วทำให้ค่ายมือถือต่างๆมาโปรโมชั่นลดค่าบริการ ทำให้คนใช้มือถือเพิ่มมากขึ้น

ส่วนรายได้นั้นพบว่าเฉลี่ยช่วงที่ทักษิณเป็นนายกฯ รายได้ของAISกับDTACที่เป็นคู่แข่งขันสำคัญเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกัน คือAISเพิ่มขึ้นเฉลี่ย19% DTAC18%

Q:เพราะทักษิณเอื้อผลประโยชน์ ทำให้AISผูกขาดมือถือไว้เพียงเจ้าเดียว คนอื่นแข่งขันไม่ได้

A:หากไปดูส่วนแบ่งการตลาดจะพบว่างปีที่ทักษิณเป็นนายกฯอยู่ ส่วนแบ่งการตลาดลดลงด้วยซ้ำ เช่น ปี2549 AISมีส่วนแบ่งตลาดลดเหลือ49% จากปีก่อนมีส่วนแบ่ง54% เครือข่ายอื่นๆเพิ่มจาก46%เป็น51% ทั้งนี้การมีส่วนแบ่งการตลาดขึ้นกับคุณภาพ การบริการ และราคาเป็นหลัก เป็นไปตามกลไกตลาด


Q:เพราะทักษิณใช้อิทธิพลการเป็นนายกฯ ทำให้บริษัทชินวัตรสามารถจ่ายปันผลได้ปีละถึง40%

A:การจ่ายปันผลเท่าไหร่ เป็นนโยบายของแต่ละบริษัท บางบริษัทเช่นปูนซิเมนต์ไทยช่วงเวลาเดียวกันจ่ายสูงถึง60%

Q:ทักษิณออกพรบ.สรรพสามิต เพื่อกีดกันไม่ให้คู่แข่งขันรายใหม่เข้ามาทำธุรกิจแข่งขัน

A:คนที่เดือดร้อนเรื่องนี้คือเสือนอนกินอย่างทศท. ไม่ใช่คู่แข่งขันรายใหม่ตามที่อ้างกัน สาเหตุที่ต้องจ่ายภาษีสรรพสามิต เนื่องจากเดิมAISและบริษัทมือถือจ่ายค่าสัมปทานให้ ทศท.ทั้งหมด ต่อมาทศท.แปรสภาพรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทมหาชน มาทำธุรกิจแข่งขันกับเอกชน(เช่นทำโทรมือถือแข่ง)จะให้เป็นเสือนอนกินรับค่าสัมปทานต่อย่อมไม่ได้ เป็นการเอาเปรียบ จึงออกกฎหมายจ่ายเข้าสรรพสามิตครึ่งหนึ่ง และจ่ายให้ทศท.เหลือเพียงครึ่งหนึ่งจากเดิม แต่เงินก็ยังเข้ารัฐเท่าเดิม

ในช่วงปี2546-2551 AISจ่ายค่าสัมปทานให้ทศท.และกสท.84,000ล้านบาท และช่วงปี2546-2549จ่ายให้สรรพสามิต31,463ล้านบาท ซึ่งเงินก้อนหลังนี้เข้ารัฐโดยตรง แต่ในส่วนที่จ่ายให้ทศท.นั้น คำถามคือทศท.ที่เป็นเสือนอนกินจ่ายเข้ารัฐเพียงบางส่วนเท่านั้น ทำไมต่อมารัฐบาลขิงแก่ยกเลิกสรรพสามิตไปจ่ายให้เสือนอนกินตามเดิม?

ส่วนผู้เข้ามาแข่งขันรายใหม่นั้นไม่ว่าจะมีภาษีสรรพสามิตหรือไม่ ก็ต้องจ่ายเข้ารัฐเท่าเดิม

Q:ทักษิณใช้อำนาจนายกฯให้EXIM BANKปล่อยกู้พม่า5พันล้านบาททำโครงการ แล้วพม่าก็มาซื้อสินค้าจากชินแซทเทิลไลต์(ดาวเทียมไทยคม) เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน โกงชาติ

A:เรื่องนี้เดิมEXIM BANKให้พม่ากู้4พันล้าน ต่อมาครม.ทักษิณให้กู้เพิ่มอีก1พันล้านบาท รวมเป็น5พันล้านบาท ความเสียหายก็ยังไม่เกิดขึ้น พม่าก็ไม่ได้ชักดาบไทย ไทยได้ประโยชน์อีกต่างหาก เช่น ปตท.ได้สัมปทานก๊าซจากพม่ามูลค่าหลายแสนล้านบาท ทำให้กิจการพลังงานไทยมั่นคง ความสัมพันธ์ไทย-พม่าก็ดี เมื่อพม่าได้เงินกู้จากEXIM BANKของไทย พม่าก็ต้องมาซื้อสินค้าจากบริษัทห้างร้านของไทยเป็นเงื่อนไขเหมือนเวลาไทยไปกู้ญี่ปุ่น เขาก็กำหนดว่าต้องซื้อสินค้าจากญี่ปุ่น สรุปว่าเรื่องนี้ไทยมีแต่ได้กับได้ แต่มาโยนผิดว่าทักษิณผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นเรื่องหมาป่ากับลูกแกะ

Q:อย่างไรก็ตาม การที่ทักษิณเป็นนายกฯก็เอื้อประโยชน์บริษัทชินวัตรอยู่ดี ช่วงเป็นนายกฯเลยทำให้ชินวัตรหาประโยชน์หากำไรได้มากกว่าคนอื่น

A:ถ้าเช่นนั้นก็ต้องมาดูผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น คิดเป็น%เปรียบเทียบกับกิจการอื่นๆในตลาดหลักทรัพย์ช่วงเดียวกัน ในเวลาที่ทักษิณเป็นายกฯอยู่ ก็จะพบในเชิงเปรียบเทียบดังนี้

-ปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นใหญ่ มีอัตราผลตอบแทนสูงที่สุดคือ48%
-รองลงมา ปตท. ซึ่งกระทรวงคลังถือหุ้นใหญ่ มีอัตราผลตอบแทน 36%
-บริษัทนิคมอุตสาหกรรมอมตะฯ ของนายวิกรม กรมดิษฐ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ อัตราผลตอบแทน 30%
-บริษัทซีเอ็ด ที่เป็นร้านหนังสือ 28%
-AIS เพียง 25%
-บริษัทชินวัตรเพียง 20%
-ชินแซทเทิลไลต์ เพียง 13%


Q:ถึงอย่างนั้นก็เถอะ แต่หุ้นที่ทักษิณถืออยู่ก็สูงกว่าบริษัทอื่นๆ เพราะใช้ตำแหน่งนายกฯเอื้อประโยชน์ให้ราคาหุ้นได้

A:ถ้าอย่างนั้นจะเปรียบเทียบให้ดูว่ามูลค่าหุ้นของบริษัทใดแพง หรือถูกในช่วงที่ทักษิณได้ขายหุ้นออกไปให้ดู โดยเทียบจากมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น ก็จะพบว่า

-หุ้นบริษัทปูนซิเมนต์ไทย มีมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นสูงที่สุดคือ 4.58 เท่า
-หุ้นบริษัทอมตะฯ 3.65 เท่า
-ส่วนหุ้นชินวัตรเพียง 2.94 เท่า


การที่หุ้นถูกหรือแพงไม่ได้เกี่ยวกับว่าเจ้าของหุ้นเป็นใคร เกี่ยวกับว่ามียอดขายดีไหม กำไรดีไหม ปันผลดีไหม คนที่ลงทุนไว้ประเมินว่ามีศักยภาพที่เติบโตและมั่นคงหรือไม่

Q:นี่กำลังจะบอกว่าทักษิณไม่ได้ใช้อำนาจอิทธิพลตำแหน่งนายกฯโกงชาติ ขายหุ้นให้สิงคโปร์ได้76,000ล้านใช่ไหม

A:เพราะบริษัทของทักษิณจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ราคาก็ขึ้นลงตามความเคลื่อนไหวของตลาด ตามสภาพเศรษฐกิจโดยรวม และตามความสามารถของบริษัท

-ในปี2537 ดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่1,532จุด มูลค่าหุ้นของทักษิณ=118,000ล้านบาท
-พอฟองสบู่แตกปี40ตอนทักษิณมาเป็นนายกฯในปี2544 ดัชนีหุ้นลดลงเหลือ324จุด หุ้นของทักษิณลดลงมาเหลือเพียง=31,000ล้านบาท
-พอปี2549ที่ทักษิณขายหุ้นให้สิงคโปร์ เศรษฐกิจไทยฟื้น ดัชนีตลาดหุ้นไทยฟื้นขึ้นมาที่750จุด หุ้นของทักษิณฟื้นขึ้นมาขายได้=76,000ล้านบาท


พูดง่ายๆว่าหากย้อนเวลาไปได้ ตอนที่ทักษิณยังไม่มาเล่นการเมือง ไม่ได้มาเป็นนายกฯ ก็ขายได้ถึง111,8000ล้านบาท ดังนั้นไม่ได้เกี่ยวกับว่าทักษิณเป็นนายกฯหรือไม่ได้เป็นแล้วจึงขายได้ถูกหรือแพง เพราะหากบอกว่าทักษิณโกงชาติ ทำให้หุ้นขึ้นเยอะ ขายได้กำไรมาก อย่างนั้นไม่แปลว่า บริษัทในตลาดหุ้นที่ขึ้นเยอะนั้นโกงชาติกันหมดหรือ?

Q:ถึงจะไม่ได้โกงชาติ แต่การที่ทักษิณขายหุ้นชินวัตรให้สิงคโปร์ก็เท่ากับขายชาติ

A:เรื่องนี้ต้องเข้าใจว่าคู่แข่งขันของAISคือDTACเขาอยากขายหุ้นให้บริษัทจากนอร์เวย์เข้ามาถือหุ้นให้มากกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าห้ามต่างชาติถือหุ้นกิจการโทรคมนาคมได้ไม่เกิน25% โดยเคลื่อนไหวเรียกร้องมาตั้งแต่ปลายปี2544 ต่อมาTRUE TT&Tก็เรียกร้องทำนองเดียวกัน

DTACรอไม่ไหวก็ขายหุ้นให้นอร์เวย์เข้ามาถือหุ้นถึง38%ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ก่อนที่กฎหมายให้ต่างชาติถือหุ้นกิจการโทรคมนาคมได้เกิน25%มีผลบังคับใช้เมื่อ 21 มกราคม 2549

ทางชินวัตรค่อยขายให้สิงคโปร์ในวันที่ 23 มกราคม 2549 คือหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้...ใครทำผิด ใครทำถูก?

Q:ถ้าทักษิณไม่ผิดเลย แล้วทำไมคตส.ถึงได้สรุปว่าผิด

A:คตส.เป็นหน่วยงานที่คมช.ตั้งขึ้นหลังรัฐประหาร19กันยายน2549 นอกจากนำคนที่แสดงตนว่าเป็นปฏิปักษ์ทางการเมืองของทักษิณมาเป็นคณะกรรมการ อย่างนายนาม ยิ้มแย้ม นายสัก กอแสงเรือง นายแก้วสรร อติโพธิ คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑะกาแล้ว ก็ยังต้องกล่าวอย่างถึงที่สุดด้วยว่านี่เป็นองค์กร และกระบวนการซึ่งมีที่มาจากการทำรัฐประหาร19กันยาฯ จึงไม่มีความชอบธรรมนับแต่ต้นอยู่แล้ว ไม่มีสิทธิเลยที่จะดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สินของทักษิณ เพราะมีแรงจูงใจจากการต้องการโค่นล้มทำลายล้างทางการเมืองเป็นสำคัญ

Q:แต่อัยการก็สรุปสำนวนส่งฟ้องนะ อัยการไม่ได้มีที่มาจากการทำรัฐประหารซักหน่อย

A:แล้วไม่รู้หรือว่าอัยการที่เขาทำคดีอึดอัดแค่ไหนที่ต้องถูกแทรกแซงสารพัดจากอำมาตย์ใหญ่ที่กดดันให้เขาส่งฟ้องศาล ทั้งที่ผิดหลักนิติธรรม ทั้งที่อัยการต้องกลายมาเป็นเครื่องมือของอำมาตย์ ทั้งที่ศาลต้องตัดสินโดยที่ไม่รู้ว่าจะใช้ดุลพินิจที่เป็นอิสระได้เพียงใด

หากพูดอย่างถึงที่สุด คดีนี้ก็เป็นโมฆะมาแต่ต้นแล้ว เพราะคณะรัฐประหาร แต่งตั้งคตส.มาหาเรื่องกัน เพื่อโค่นล้มทำลายล้างทางการเมือง แม้มาถึงอัยการ หรือศาลจะตัดสินอย่างไร มันก็โมฆะมาแต่ต้น

Q:ในท้ายที่สุดก็คงมีคำตัดสินให้ยึดทรัพย์ทักษิณทั้งหมด ซึ่งก็จะเป็นการพิสูจน์ว่าทักษิณโกงชาติจริงๆ

A:อ้อ..มีธงกันอย่างนี้นี่เอง

Q:พวกเสื้อแดงมาเดือดร้อนอะไรด้วยกับการยึดทรัพย์ทีกษิณ แสดงว่าสู้เพื่อ(เงิน)คนๆเดียวหละซี้

A:มันเป็นเรื่องของความยุติธรรม.. ความไม่เป็นธรรมต่อคนๆหนึ่ง ก็ย่อมหมายถึงความไม่ยุติธรรมต่อคนทั้งแผ่นดิน.. ความอยุติธรรมต่อทักษิณ หมายถึงความอยุติธรรมต่อคนส่วนใหญ่ในประเทศที่เลือกทักษิณขึ้นไปบริหารประเทศตามระบอบประชาธิปไตยด้วย

เมื่อความเป็นธรรมไม่มี สามัคคีก็ไม่เกิด(NO JUSTICE , NO PEACE)


จะอธิบายเรื่องการยึดทรัพย์ทักษิณให้ชาวบ้านเข้าใจได้อย่างไร? (3)


โดย คุณnirvana
ที่มา บอร์ดนิวสกายไทยแลนด์

ประเด็นในข้อกล่าวหา

1. AIS ยึดครองตลาดธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศได้โดยเด็ดขาดแต่ผู้เดียว


ข้อมูลจากรายงานประจำปี 2547 ของ AIS

ข้อสังเกต อัตราส่วนแบ่งการตลาดในปี 2549 ของ AIS ลดลงเมื่อเทียบกับ ปี 2548

ท่านดูส่วนแบ่งการตลาดมือถือ แล้วสรุปความเห็นเองแล้วกัน เพราะมันชัดเจน ท่านจะดุด่า ค.ต.ส. อย่างไร เชิญตามสบายครับ

2. ผู้ประกอบการรายใหม่ก็พบกำแพงภาษีสรรพสามิต 10% มาขวางกั้นทำให้ไม่สามารถเข้ามาแข่งกันโดยเต็มที่ได้

ไม่มีภาษีสรรพสามิต 10% ผู้ประกอบการรายใหม่ก็ต้องจ่าย 20% ของรายได้ (แบบเติมเงิน หรือ Prepaid) และ 25% ของรายได้ (แบบชำระค่าบริการหลังการใช้ หรือ Postpaid)

มีภาษีสรรพสามิต 10% ผู้ประกอบการรายใหม่ก็ต้องจ่าย 10% ของรายได้ (แบบเติมเงิน หรือ Prepaid) และ 15% ของรายได้ (แบบชำระค่าบริการหลังการใช้ หรือ Postpaid)

ไม่เห็นว่ามันจะต่างกันเลย

คตส. คิดได้งัยเนี่ย คิดไม่เหมือนคนเลย

ผู้ที่ขวางกั้นหรือกีดกันผู้ประกอบการรายใหม่น่าจะเป็นปลิง 2 ตัวมากกว่า

น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เคยพูดถึงเรื่องนี้ไว้ว่า

ตัวท่านได้มีโอกาสพบผู้ประกอบการต่างประเทศและคนไทยที่ประสงค์ประกอบกิจการโทรคมนาคมมากมาย ไม่มีใครพูดเลยว่า การที่มีภาษีสรรพามิตจะทำให้เขาลังเลที่จะมาประกอบกิจการโทรคมนาคมในไทย ทุกคนบอกว่าเมื่อไหร่ที่ กทช.เปิดโอกาสให้สามารถขอใบอนุญาตได้เขาจะดำเนินการทันที และทำให้มีการบริการที่มีคุณภาพมากขึ้นและราคาถูกลง ซึ่งวันนี้ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า รายใหม่ที่ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ เริ่มเห็นแล้วว่าค่าบริการลดลงอย่างมากมาย



คลิ้กที่ภาพด้านล่างเพื่อขยาย หรือคลิ้กอ่านตามลิ้งค์





คลิ้กที่ภาพเพื่อขยายให้ใหญ่

อ่านบทความชุดนี้ในตอนที่ผ่านมา:จะอธิบายเรื่องการยึดทรัพย์ทักษิณให้ชาวบ้านเข้าใจได้อย่างไร?


จะอธิบายเรื่องการยึดทรัพย์ทักษิณให้ชาวบ้านเข้าใจได้อย่างไร? (2)


โดย คุณnirvana
ที่มา บอร์ดนิวสกายไทยแลนด์


อยากจะให้อธิบายให้พวกพันธมิตรที่เพื่อนๆรู้จักได้เข้าใจ สำหรับคนจนหรือคนรากหญ้าหรือคนเสื้อแดงทั้งหลายนั้น ไม่มีใครเชื่อข้อกล่าวหาต่างๆที่ท่านทักษิณโดน ถ้ามีโอกาส น่าจะอธิบายให้คนจน คนรากหญ้า หรือ คนเสื้อแดงไ ด้รู้เช่นกัน

เผื่อว่ามีคนกล่าวหาว่าคนเสื้อแดงเชื่อทักษิณอย่างงมงาย คนเสื้อแดงก็จะสามารถโต้ตอบคนกล่าวหาได้

การวิเคราะห์ สาเหตุที่ทำให้ รายได้ AIS ในปี 45 เพิ่มขึ้นจากปี 44 ถึง 39% ในขณะที่ DTAC เพิ่มขึ้นเพียง 14%

การแก้ไขสัญญาเรื่องการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้ TOT

DTAC ได้รับการแก้ไขสัญญาก่อน AIS กล่าวคือ วันที่ที่ได้รับการแก้ไขสัญญา: DTAC 1 เม.ย. 2544 / AIS 15 พ.ย. 2544

การแก้ไขสัญญาลดการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ฯ นำไปสู่การลดราคา และนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของรายได้ ซึ่งในปี 2544 DTAC จะได้รับประโยชน์ส่วนนี้ เป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งจะมีผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปี 2543

แต่ AIS ได้รับประโยชน์เพียง 1.5 เดือน มีผลให้มีรายได้เพิ่มขึ้นน้อยเมื่อเทียบกับปี 2543 ดังนั้น เมื่อนำเอารายได้ปี 2545 มาเทียบกับปี 2544 ทำให้อัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้เพิ่มขึ้นสูงมาก เพราะเราใช้ยอดรายได้ของปี 2544 เป็นตัวหารเพื่อคำนวณเปอร์เซนต์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจยากสำหรับผู้ที่ไม่สันทัดวิชาคำนวณ

เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ขอสมมติดังนี้ก็แล้วกัน


ถ้า AIS ได้รับการแก้ไขสัญญาในวันเดียวกันกับ DTAC คือ 1 เม.ย. 2544 รายได้ปี 2544 ของ AIS จะต้องมากกว่า 39,170 ล้านบาท สมมติรายได้ปี 2544 เท่ากับ 47,000 ล้านบาท

รายได้ปี 2545 เพิ่มขึ้น (เมื่อเทียบกับปี 2544) เท่ากับ 16%
[(54,438 – 47,000) ÷ 47,000 x 100]

ตั้งแต่ปี 2544 – 2548 รายได้เพิ่มขึ้น (ลดลง) เป็นเปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับปีก่อน
AIS : 39% , 24% , 15% , -4% DTAC : 14% , 20% , 25% , 11%

ถ้ามองในภาพรวม (ปี 2544 – 2548) รายได้แต่ละบริษัทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนกี่เปอร์เซนต์
เมื่อใช้ค่าเฉลี่ย (รวม 4 ยอด แล้วหารด้วย 4)

รายได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน : AIS 19% , DTAC 18%
เมื่อใช้ค่ามัธยฐาน (ค่าตรงกลาง)

รายได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน : AIS 19.5% , DTAC 17.0%

เมื่อนำหลักทางวิชาการเงินมาประยุกต์ใช้ (ไม่ขออธิบาย เพราะเป็นเรื่องที่ซับซ้อน)
รายได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน : AIS 17.59% , DTAC 17.54%

ถ้าเปรียบเทียบรายได้ ปี 2548 กับ ปี 2544
รายได้ปี 2548 เพิ่มขึ้นจากปี 2544 : AIS 91.18% , DTAC 90.88%

ข้อสรุปเรื่องรายได้ของบริษัท AIS

การวิเคราะห์ตัวเลขที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ของ AIS อยู่ในระดับใกล้เคียงกับ DTAC อย่างไรก็ตาม ถ้าอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ของ AIS สูงกว่า DTAC ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะมันมีเรื่องของคุณภาพเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

ประเด็นที่ คตส เขียนไว้ในข้อกล่าวหาข้อ 1 บริษัท เอไอเอส นั้น ก็พบว่ามีรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ความเป็นยุติธรรมอยู่ตรงไหน? ขอหน่อยได้ไหม? ให้คนเสื้อแดง

อีกประเด็นหนึ่งที่เขียนไว้ในข้อกล่าวหา …..และมีอัตราคืนทุนที่งดงามจนประกาศจะจ่ายปันผล 40% ของกำไรสะสมได้ทุกปี (ทีถูกน่าจะเป็น 40% ของกำไรสุทธิ)

จะจ่าย 40% ของกำไรสุทธิไม่เห็นจะแปลกตรงไหน เพราะเป็นเรื่องของนโยบายด้านเงินปันผลที่กำหนดไว้ เมื่อจ่ายจริงอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ จ่าย 40% ต้องชิดซ้ายไปเลย บางบริษัทจ่ายสูงเกินกว่า 60% ก็มี เช่น ปูนซิเมนต์ไทย อัตราจ่ายเงินปันผลปี (2546 – 2549) 36.1% , 49.3% , 55.8% , 61.2% (ข้อมูลนำมาจากรายงานประจำปี 2550 ของ บ.ปูนซิเมนต์ไทย)

อีกประเด็นหนึ่งที่เขียนไว้ในข้อกล่าวหา…..ส่วนอีกสองบริษัทก็พยายามดิ้นรนแข่งขันจนถึงระดับที่แทบจะไม่มีกำไร....

กำไรสุทธิของ DTAC ปี 2544 – 2549
1,822 / 2,082 / 2,587 / 4,480 / 4,611 / 4,938 ล้านบาท
(ตัวเลขจากงบการเงินที่อยู่ในเว็บไซต์ของ ก.ล.ต.)

มุสาวาทา เวรมณี

ท่านนายกทักษิณไม่ได้ถือหุ้นโดยตรงใน AIS แต่ท่านเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (50%) และ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด ถือหุ้นใน AIS 43% , บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด 51% และอีกหลายบริษัท(ข้อมูลจากรายงานประจำปี 2547)

ถ้าถามว่าท่านนายกทักษิณถือหุ้นใน AIS กี่เปอร์เซนต์ คำตอบก็คือ 21.5% (43% x 50%) เป็นการถือหุ้นทางอ้อม

บางคนอาจไม่เข้าใจการถือหุ้นหมายความว่าอย่างไร

ขอยกตัวอย่างง่ายๆแบบนี้ก็แล้วกัน

บริษัทเปิดใหม่แห่งหนึ่งต้องการเงินทุนในการดำเนินกิจการ 1,000,000 บาท(แบ่งเป็น 1,000,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 1 บาท) นำหุ้นออกเสนอขาย นายสมชายซื้อหุ้น 600,000 หุ้น นายเอกซื้อ 10 หุ้น ที่เหลืออีก 399,990 หุ้นมีผู้ซื้อครบ ทั้งนายสมชายและนายเอกต่างก็เป็นเจ้าของบริษัทเหมือนกัน นายสมชายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (ถือหุ้น 60%) ส่วนนายเอกเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อย


ผมมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ AIS และ DTAC ไม่ได้เชียร์ AIS และไม่ได้มีอคติกับ DTAC แต่วิเคราะห์ข้อมูลตามข้อเท็จจริงในฐานะนักบัญชีผู้หนึ่งเท่านั้น

เพราะความเห็นส่วนใหญ่ที่นำสู่สังคม มักจะเป็นความเห็นของนักกฎหมาย ผมคิดว่าในโอกาสต่อไปจะแสดงความเห็นเรื่องการแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต เรื่องของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด การเปรียบเทียบผลตอบแทนของAIS ชินคอร์ป กับ กิจการที่อยู่ในอุตสาหกรรมอื่น เช่น ธนาคาร พลังงาน พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น

ทั้งนี้เพื่อดูว่ากิจการในประเภทอื่นๆ มีความเจริญเติบโตหรือผลตอบแทนที่ได้รับเมื่อเทียบกับกิจการของนายกทักษิณ มีลักษณะเป็นอย่างไร เพราะมีการกล่าวหาว่า กิจการของท่านเติบโตมากกว่ากิจการอื่นๆ

ดังนั้น เพื่อให้ผู้ที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องของการเงินหรือการบัญชีสามารถที่จะเข้าความเห็นของผมได้
ผมขอปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการเงินหรือการบัญชีก่อน

ฐานะการเงินของส่วนบุคคล

สมมตินักการเมืองคนหนึ่งก่อนเล่นการเมือง

-มีเงินสดและเงินฝากธนาคาร 500,000 บาท
-มีที่ดิน บ้าน รถยนต์ และอื่นๆ ซึ่งตีราคาได้ 7,500,000 บาท
-รวมทรัพย์สินทั้งหมดคือ 8,000,000 บาท
-มีหนี้สินรายการเดียวคือ หนี้ธนาคาร 1,000,000 บาท

ดังนั้นสินทรัพย์สุทธิจะเท่ากับ 7,000,000 บาท (เรียกว่า ส่วนของตัวเอง)

ในทางบัญชีเรียกใช้คำว่า “สินทรัพย์” แทน “ทรัพย์สิน”
ในงบดุลจะแสดง 3 รายการคือ สินทรัพย์ หนี้สิน และ ส่วนของผู้ถือหุ้น
ส่วนของผู้ถือหุ้น เปรียบได้กับ ส่วนของตัวเอง
(ซึ่งเท่ากับ ยอดรวมของสินทรัพย์ หักด้วย ยอดรวมหนี้สิน)

ส่วนของผู้ถือหุ้นแยกเป็น 2 รายการใหญ่คือ ทุนเรือนหุ้น และ กำไรสะสม
ยกตัวอย่างกำไรสะสม สมมติว่าเราซื้อหุ้นบริษัทที่เปิดใหม่ 1 หุ้น
ราคาหุ้นละ 100 บาท สิ้นปีที่ 1, 2, 3 มีกำไรสุทธิต่อหุ้น (หลังจ่ายภาษี)
30 บาท, 20 บาท, 40 บาท ยังไม่ได้การจ่ายเงินปันผลทั้ง 3 ปี
ดังนั้นกำไรสะสมเมื่อสิ้นปีที่ 1, 2, 3 จะเท่ากับ 30 บาท, 50 บาท, 90 บาท
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (Book Value Per Share) ณ สิ้นปีที่ 3 = 100 + 90 = 190 บาท
ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ 100 บาทคือเงินลงทุนเริ่มแรก
ส่วนอีก 90 บาทเป็นกำไรสุทธิของ 3 ปีรวมกันโดยที่ไม่ได้จ่ายผลตอบแทน
ในรูปเงินปันผลให้กับผู้ลงทุน (ผู้ถือหุ้น) เลย

พูดภาษาชาวบ้านก็คือนำเอากำไรไปลงทุนต่อ แต่นักบัญชีเขาไม่เรียก 190 บาทว่า “เงินลงทุน” แต่เรียกว่า “ส่วนของผู้ถือหุ้น”
(จริงๆแล้ว ส่วนของผู้ถือหุ้นไม่ได้มีแค่ 2 รายการนี้เท่านั้น แต่ยังมีรายการอื่นๆอีก เช่น ส่วนเกินมูลมูลค่าหุ้น)

ข้อกล่าวหาของ คตส. (ต่อ)

ภาพด้านบนเป็นของคุณ Jampoon ที่โพสท์ไว้ในห้องราชดำเนิน (PANTIP) วันที่ 15 ม.ค. 53

เรื่องนี้ไม่ได้แก้ไข แต่เป็นการเพิ่มเติมส่วนแบ่งรายได้ให้กับ TOT ทั้งนี้สืบเนื่องจาก TOT ไม่สามารถติดตั้งขยายระบบสื่อสัญญาณ (Transmission Networks) ได้ทันต่อการขยายสถานี (Base Station) เพื่อบริการแก่ประชาชนผู้ใช้บริการของ AIS ได้ทัน

AIS จึงได้ขออนุญาตลงทุนขยายระบบสื่อสัญญาณ (Transmission Networks) ในส่วนที่ TOT ไม่สามารถจัดสร้างได้ทัน และยกให้เป็นทรัพย์สินของ TOT ในทันทีที่เปิดใช้บริการ

ซึ่งเป็นไปตามสัญญาร่วมงานแบบสร้าง-โอน-ดำเนินงาน (BTO: Build-Transfer-Operate)

โดยที่ AIS มีสิทธิใช้ระบบสื่อสัญญาณ (Transmission Networks) จนกว่าจะหมดอายุสัมปทาน

ต่อมาปรากฏว่ามีส่วนที่เหลือใช้ซึ่ง TOT และ AIS มีความเห็นตรงกันว่า ควรจะให้ประชาชน หน่วยงานอื่นๆ หรือ บริษัทเอกชนต่างๆ สามารถขอเช่าใช้ได้ TOT จึงได้กำหนดส่วนแบ่งรายได้ขึ้นมาใหม่ โดย

กรณีเป็น ”ผู้ใช้บริการของ TOT” TOT ได้รับร้อยละ 25 AIS ได้รับร้อยละ 75 ตลอดอายุสัญญา
กรณีเป็น ”ผู้ใช้บริการของ AIS” TOT ได้รับร้อยละ 22 AIS ได้รับร้อยละ 78 ตลอดอายุสัญญา

ซึ่ง AIS มีหน้าที่จะต้องดูแลบำรุงรักษาและซ่อมแซมระบบสื่อสัญญาณ (Transmission Networks) นั้นตลอดจนอายุสัญญา

เรียบเรียงข้อมูลจาก http://shincase.googlepages.com/indictmentinvolvingonais

ก่อนที่ผมจะไปวิเคราะห์ข้อกล่าวหาข้อ 3 ของค.ต.ส. เรื่องการแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต ขอสรุปผลการวิเคราะห์หรือข้อเท็จริงเรื่องการลดค่าสัมปทานก่อน

1. อัตราค่าสัมปทานที่กำหนดขึ้นใหม่ในปี 2544:

AIS จ่ายร้อยละ 20 ของรายได้ ส่วน DTAC จ่ายร้อยละ 18 ของรายได้

2. ยอดโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปี 2549 เมื่อเทียบปี 2544 :

AIS เพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่า @@@ ค่ายอื่นรวมกันเพิ่มขึ้นประมาณ 14 เท่า (จะต้องมีหนึ่งค่ายที่มียอดเพิ่มขึ้นมากกว่า 14 เท่า)

3. ประเด็นหนึ่งที่เขียนไว้ในข้อกล่าวหา
“...บริษัท เอไอเอส นั้น ก็พบว่ามีรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ…”


ผลการวิเคราะห์

อัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ เมื่อเทียบกับปีก่อน

AIS อยู่ในช่วงประมาณ 18% – 20% @@@ DTAC อยู่ในช่วงประมาณ 17% – 18%

อัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ปี 2548 เทียบกับ ปี 2544

AIS เพิ่มขึ้น 91.18% @@@ DTAC เพิ่มขึ้น 90.88%

อัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ AIS จะต่ำกว่าที่แสดงไว้ ถ้า AIS ได้รับการลดค่าสัมปทานพร้อมกับ DTAC (จากการวิเคราะห์ที่ผ่านมา)

อัตราการเพิ่มรายได้ของ AIS สูงกว่า DTAC ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะมันมีเรื่องของคุณภาพเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

4. อีกประเด็นหนึ่งที่เขียนไว้ในข้อกล่าวหา
…..และมีอัตราคืนทุนที่งดงามจนประกาศจะจ่ายปันผล 40% ของกำไรสะสมได้ทุกปี(ทีถูกน่าจะเป็น 40% ของกำไรสุทธิ)


ข้อเท็จจริง จะจ่าย 40% ของกำไรสุทธิไม่เห็นจะแปลกตรงไหน เพราะเป็นเรื่องของนโยบายด้านเงินปันผลที่กำหนดไว้ เมื่อจ่ายจริงอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ได้ จ่าย 40% ในปี 2549 บ. ปูนซิเมนต์ไทย จ่ายเงินปันผลสูงถึง 61% ของกำไรสุทธิ

5. อีกประเด็นหนึ่งที่เขียนไว้ในข้อกล่าวหา

…..ส่วนอีกสองบริษัทก็พยายามดิ้นรนแข่งขันจนถึงระดับที่แทบจะไม่มีกำไร....


ข้อเท็จริง กำไรสุทธิของ DTAC ปี 2544 – 2549 มีกำไรทุกปี อยู่ในช่วง 1,822 – 4,938 ล้านบาท

เมื่อคืนดูคุณปลื้มพูดที่ People Channel ในรายการของคุณศุภรัตน์ คุณปลื้มพูดถึงเรื่อการยึดทรัพย์ของนายกทักษิณ โยงมาที่เรื่องเกี่ยวกับค่าสัมปทานมือถือ แล้วก็บอกว่า ผู้ที่ได้รับประโยชน์มากคือ DTAC ซึ่งเหมือนกับที่ผมได้วิเคราะห์

ต่อไปผมจะไปวิเคราะห์ข้อกล่าวหาข้อ 3 ของค.ต.ส. เรื่องการแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องมาจากข้อกล่าวหาข้อ 1

กล่าวอย่างย่อก็คือ ในปี 2544 ลดค่าสัมปทานให้แก่ผู้ประกอบการมือถือ ต่อมาในปี 2546 กำหนดให้ค่าสัมปทานที่ผู้ประกอบการมือถือต้องจ่ายให้กับ ทศท (TOT) หรือ กสท. มาแต่เดิมนั้น ให้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน (ประมาณครึ่งๆ) ส่วนแรกจ่ายให้กับ ทศท (TOT) หรือ กสท ส่วนที่สองจ่ายให้กับรัฐ (กรมสรรพสามิต)

ข้อกล่าวหาของ ค.ต.ส.

ภาพของคุณ Jampoon ที่โพสท์ไว้ในห้องราชดำเนิน (PANTIP) วันที่ 15 ม.ค. 53

ผมขอแยกออกเป็น 2 ประเด็น

1. AIS ยึดครองตลาดธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศได้โดยเด็ดขาดแต่ผู้เดียว
2. ผู้ประกอบการรายใหม่ก็พบกำแพงภาษีสรรพสามิต 10% มาขวางกั้นทำให้ไม่สามารถเข้ามาแข่งกันโดยเต็มที่ได้


ก่อนที่ผมจะแสดงความเห็นในแต่ละประเด็น ขอลำดับเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องก่อน

*ปี 2544 มีการแก้ไขสัญญาเพื่อลดค่าสัมปทาน โดย DTAC ต้องจ่าย (ให้แก่ กสท.) ในอัตราร้อยละ 18 ของรายได้
ส่วน AIS ต้องจ่าย (ให้แก่ ทศท.) ในอัตราร้อยละ 20 ของรายได้

*ปี 2545 องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท) แปลงสภาพเป็นบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจหลักในด้าน
โทรคมนาคมทุกประเภท

เมื่อ ทศท แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชนแล้ว และยังคงได้รับค่าสัมปทาน (ส่วนแบ่งรายได้) จากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อไป

ผลการดำเนินงานของทีโอทีที่รายงานออกมา จะเป็นเสมือนภาพลวงตา (แม้ว่าการดำเนินงานไม่มีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังมีกำไรมาก) โดยที่ส่วนหนึ่งของกำไรมาจากรายได้ค่าสัมปทานที่ได้รับ เป็นรายได้ที่ไม่มีต้นทุนเกิดขึ้นเลย (พูดภาษาชาวบ้านง่ายๆว่า “ไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเลย นอนอยู่เฉยๆก็ได้รับเงิน”)

แล้วทีโอทีก็นำเงินค่าสัมปทานที่ได้รับมาเป็นเงินทุนในการทำธุรกิจแข่งขันกับบริษัทอื่นๆที่ทำธุรกิจด้านสื่อสารโทรคมนาคมเหมือนกับตน

ทีโอทีไม่ควรเป็นผู้กำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมอีกต่อไป ควรเป็นผู้ประกอบเพียงอย่างเดียว

รัฐบาลของท่านนายกทักษิณจึงได้ออก พรก. แก้ไขเพิ่มเติม พรบ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตโดยให้เก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการโทรศัพท์เคลื่อน 10% ของรายได้ และให้นำเอาภาษีสรรพสามิตไปหักจากค่าสัมปทานที่ค่ายมือถือต่างๆต้องจ่ายให้กับ ทีโอที หรือ กสท.

พูดง่ายๆก็คือ เดิมค่ายมือถือต่างๆจ่ายค่าสัมปทานทั้งหมดให้กับ ทีโอที หรือ กสท เปลี่ยนเป็น แบ่งค่าสัมปทานออกเป็น 2 ก้อน (ยอดแต่ละก้อนไม่ต่างกันมากนัก)

ก้อนหนึ่งให้กับ ทีโอที หรือ กสท อีกก้อนหนึ่งจ่ายให้กรมสรรพสามิต ก้อนที่จ่ายให้กรมสรรพสามิตต้องจ่ายเป็นรายเดือน

ไม่ว่าจะแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตหรือไม่ก็ตาม ค่ายมือถือต่างๆยังคงต้องจ่ายค่าสัมปทานเท่าเดิม

อัตราค่าสัมปทานที่ต้องจ่าย : ระบบเติมเงิน หรือ Prepaid 20% ของรายได้ , ระบบชำระค่าบริการหลังการใช้ หรือ Postpaid 25% ของรายได้

เช่น รายได้ (ระบบเติมเงินและระบบชำระค่าบริการหลังการใช้) เดือนละ 100 ล้านบาท (ทั้งปี 1,200 ล้านบาท) ดังนั้น แต่ละเดือน จะต้องจ่ายให้กรมสรรพสามิต 10%ของรายได้ คือ 10 ล้านบาท (ทั้งปี 120 ล้านบาท) นั่นคือ ก้อนแรกจ่ายให้สรรพสามิตไปแล้ว 120 ล้านบาท

ก้อนที่สองต้องที่จ่ายให้ ทีโอที หรือ กสท ตอนสิ้นปี ต้องคำนวณหาค่าสัมปทานที่ต้องจ่าย แล้วหักด้วย ภาษีสรรพสามิตที่ได้จ่ายไปแล้ว (120 ล้านบาท) ผลลัพธ์ก็คือ ส่วนที่ต้องจ่ายให้ทีโอที หรือ กสท.

สมมติว่าคำนวณค่าสัมปทานได้ 265 ล้านบาท (20% ของรายได้แบบเติมเงิน บวก 25% ของรายได้แบบชำระค่าบริการหลังการใช้) สิ้นปีต้องจ่ายให้ ทีโอที หรือ กสท 145 ล้านบาท (265 – 120)

ขอสรุปอีกที

ถ้าเป็นแบบเดิม (ไม่มีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต) จ่ายให้ ทีโอที หรือ กสท ตอนสิ้นปี 265 ล้านบาท

เมื่อแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต จ่ายให้กรมสรรพสามิต 120 ล้านบาท และ ทีโอที หรือ กสท. 145 ล้านบาท

ไม่ว่าจะมีการแปลงค่าสัมปทานหรือไม่ก็ตามบริษัทมือถือยังคงจ่ายเท่าเดิม

ผู้ที่เสียประโยชน์จากการแปลงค่าสัมปทานก็คือ ทีโอที และ กสท. ที่เป็นปลิงดูดเลือดคนไทยมานาน ดูดเลือดได้น้อยลง

สำหรับความเห็นของผม น่าจะแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิตทั้งร้อยเปอร์เซนต์เลย คือไม่ต้องจ่ายให้กับ ทีโอทีและกสท.เลย
แต่นำไปจ่ายเป็นภาษีสรรพสามิตแทน

ซึ่งรัฐบาลสามารถนำรายได้ (ภาษี) ส่วนนี้ไปใช้จ่ายได้ทุกเดือน เฉพาะของ AIS บริษัทเดียว กรมสรรพสามิตจะได้รับประมาณเดือนละไม่ต่ำกว่า 1,500 ล้านบาท

เพราะตั้งแต่ปี 2546 – 2551 AIS จ่ายผลตอบแทนรายปี (ค่าสัมปทาน) ให้แก่ ทีโอที และ กสทและภาษีสรรพสามิตรวมเป็นเงินทั้งสิ้นกว่าหนึ่งแสนล้านบาท (ไม่รวมภาษีเงินได้นิติบุคคล)

เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งรัฐบาลขิงแก่ได้ยกเลิกภาษีสรรพสามิตส่วนนี้ไปแล้ว ภาษีที่กรมสรรพสามิตเคยได้รับจาก AIS ประมาณเดือนละ 700 ล้านบาท ได้กลับไปเข้าที่ ทีโอที และ กสท. เช่นเดิม รัฐบาลขิงแก่ชอบเลี้ยงปลิงดูดเลือด

รายได้ของโอที และ กสท แยกออกได้เป็น 2 ส่วน คือ รายได้ค่าสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ รายได้ที่เกิดขึ้นจากการประกอบธุรกิจด้วยตัวเอง เงินค่าสัมปทานที่ทีโอทีและกสท.ได้รับนั้น ไม่ได้จ่ายกลับคืนมาให้กระทรวงการคลังทั้งหมด

รายได้ค่าสัมปทานที่ ทีโอที และ กสท ได้รับ คิดเป็น 25% – 30% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว ทีโอทีและกสท.จึงจะจัดสรรกำไรให้กับกระทรวงการคลังในรูปของเงินปันผล

ตั้งแต่ปี 2546 – 2551 เฉพาะ AIS บริษัทเดียว จ่ายค่าสัมปทานให้ ทีโอที และ กสท รวมเป็นเงินประมาณ 84,000 ล้านบาท และจ่ายภาษีสรรพสามิต 31,463 ล้านบาท (ปี 2546 – 2549)

คำถามก็คือ รายได้ค่าสัมปทานที่ทีโอที และ กสท .ได้รับ 84,000 ล้านบาทนี้ ทีโอทีและกสท นำไปจ่ายให้กระทรวงการคลังเท่าใด (ในตอนต่อๆไปผมจะวิเคราะห์ให้ทราบ)

เรื่องของปลิงดูดเลือด

ปี 2551 ทีโอทีเรียกร้องต่ออนุญาโตตุลาการให้ AIS ชำระเงินส่วนแบ่งรายได้ (ค่าสัมปทาน) เพิ่มเติมอีกจำนวน 31,463 ล้านบาท และ กสท เรียกร้องให้ DTAC ชำระเงินส่วนแบ่งรายได้ (ค่าสัมปทาน) เพิ่มเติมอีกจำนวน 23,164 ล้านบาท

โดยอ้างว่า AIS และ DTAC ชำระค่าสัมปทานไม่ครบถ้วน ซึ่งจำนวนเงินที่เรียกร้องให้ AIS และ DTAC ชำระเพิ่ม ก็คือ จำนวนเดียวกันกับภาษีสรรพสามิตที่ได้จ่ายเมื่อปี 2546 – 2549

ดูดเลือดเก่งจริงๆ


....
บทความชุดนี้

-จะอธิบายเรื่องการยึดทรัพย์ทักษิณให้ชาวบ้านเข้าใจได้อย่างไร? (ตอนที่1)


สังคมข่าวชาวเสื้อแดง(11ก.พ.):แม้ว NEVER DIE


โดย นักข่าวชาวรากหญ้า
11 กุมภาพันธ์ 2553

***สังคมข่าวชาวเสื้อแดง ประจำวันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553 ฝากข่าวคราว กิจกรรม รูปถ่าย คลิปข่าวได้ตามเคยที่ thaienews99@googlegroups.com เหมือนเดิม...ลงฟรีๆไม่มีเสียตังค์จ้า***


***กลุ่มคนเสื้อแดงราชบุรี ทำโครงการ"แดงถึงหมู่บ้าน จานดาวเทียมถึงชุมชน" เพื่อเป็นการเพื่อกระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญของการขยายโอกาสในการรับข้อมูลข่าวสารของชาวบ้านผ่านจานดาวเทียม และขยายเครือข่ายจัดตั้งมวลชนคนเสื้อแดง และสนับสนุนให้ชุมชนได้มีโอกาสรับชมทีวีช่องพีเพิลแชนเนล ผ่านทางจานดาวเทียมที่กลุ่มมอบให้ไว้กับชุมชน

ในภาพ นพ.พงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิ์สกุล ประธานกลุ่มและคณะกรรมการกลุ่ม ได้มอบจานดาวเทียมให้กับชุมชน หมู่ที่5 ต.เขาแร้งอ.เมืองจ.ราชบุรี พร้อมกับพบปะพูดคุยกับชาวบ้านเมื่อ 9 ก.พ.2553***

***นปช.กลุ่มที่4ภาคตะวันตก (แดงทั้งแผ่นดิน) โดยการนำของ สจ.สุทัศน์ ในฐานะประธานกลุ่มฯ ขอเชิญแกนนำกลุ่มต่างๆในเขตภาคตะวันตก ร่วมประชุม ซึ่งมีวาระการประชุมต่างๆเพื่อวางยุทธศาสตร์และกำหนดยุทธวิธีแนวทางในการเคลื่อนไหวและการต่อสู้ที่กำลังจะมาถึง จึงขอเรียนแจ้งประกาศมาถึงแกนนำกลุ่มต่างๆทุกกลุ่มเพื่อทราบ และเข้าประชุมโดยพร้อมเพียงกัน ในวันที่ 11กุมภาพันธ์ 2553 ณ ศาลาเขาแก่นจันทร์ เมืองราชบุรีเวลา 13.00น. (มองข้ามทุกสิ่งผ่าน อุดมการณ์คนเสื้อแดง..ความรู้บวกวุฒิภาวะ จักลดละแย่งหน้าตากัน)ติดต่อคุณบริบูรณ์081-8907921***

วันจันทร์ที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓

การขยายพื้นที่ประชาธิปไตยกับแนวคิดเรื่อง “ประชาสังคม”

การขยายพื้นที่ประชาธิปไตยกับแนวคิดเรื่อง “ประชาสังคม”
ใจ อึ๊งภากรณ์

แนวคิดเรื่องการสร้าง “ประชาธิปไตย” ของอำมาตย์
หัวข้อนี้อาจดูแปลกๆ เพราะอำมาตย์เป็นพวกทำลายประชาธิปไตย แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกระแสประชาธิปไตยเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในสังคมไทยและทั่วโลก แม้แต่อำมาตย์เอง และโดยเฉพาะนักวิชาการเหลืองที่รับใช้อำมาตย์ ยังต้องสร้างเรื่องเพื่อให้รูปแบบการปกครองของเขาดูดีอาศัยความชอบธรรมจากคำว่า “ประชาธิปไตย” ทั้งๆ ที่มันคือเผด็จการชัดๆ
ในงานสัมมนาในปลายเดือนมกราคมปี ๒๕๕๓ ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน สุจิต บุญบงการ นักวิชาการเหลือง พยายามใส่ร้ายว่าขบวนการคนเสื้อแดงไม่ได้เป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่ ทั้งๆ ที่การเลือกตั้งทั่วไปในรอบสิบปีที่ผ่านมาพิสูจน์ว่ามันไม่ใช่อย่างที่สุจิตว่า สุจิตพยายามชี้ถึง “พลังเงียบ” ของคนที่ไม่เอาทั้งสองฝ่าย แต่เนื่องจากพลังเงียบไม่ออกความเห็น(มันจึงเงียบ) เราไม่มีวันทราบว่าเขาคิดอย่างไร และในขณะเดียวกันไม่มีข้อมูลอะไรที่เสนอว่าพลังเงียบดังกล่าวเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม อย่างไรก็ตาม สุจิตก็ท่องสูตรนักวิชาการอนุรักษ์ และพูดถึง “ประชาสังคม” ว่าเป็นพลังในการสร้างประชาธิปไตย ประชาสังคมของคนอย่างสุจิตคือคนชั้นกลาง นักวิชาการ และนักเอ็นจีโอ ซึ่งถ้าพิจารณาในบริบทของสังคมไทยแล้วคนกลุ่มนี้เข้าข้างเผด็จการ สนับสนุนรัฐประหาร ๑๙ กันยา และดูถูกวุฒิภาวะของพลเมืองส่วนใหญ่ในประเทศว่า “เข้าไม่ถึงข้อมูล” หรือ “ไม่เข้าใจประชาธิปไตย”
ตกลงแล้วสำหรับนักวิชาการอำมาตย์ พลเมืองส่วนใหญ่ที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย พลังประชาชน หรือเพื่อไทย ไม่ฉลาดเท่าตัวเขาเองเพราะไปถูกหลอถูกซื้อ ไม่เหมือนนักวิชาการ นักเอ็นจีโอ หรือคนชั้นกลางที่ “รู้จริง” อันนี้เป็นแนวอภิสิทธิ์ชนชัดๆ แต่มันมีที่มาที่ไปและเชื่อมกับแนวคิดอนุรักษ์สากลด้วย
รัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยไทยจนถึงยุคช่วงพฤษภา ๓๕ ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดรัฐศาสตร์ฝ่ายขวาอเมริกา ที่เสนอแนวคิด “โครงสร้างหน้าที่”[1] แนวคิดนี้เน้นการสร้างประชาธิปไตยเหมือนวิศวกรสร้างเครื่องจักร คือมีการออกแบบสถาบันการเมืองต่างๆ และกระบวนการทางการเมือง เพื่อสร้างความมั่นคงของการปกครองของชนชั้นอภิสิทธิ์ โดยชนชั้นอภิสิทธิ์เองและนักวิชาการชนชั้นกลาง สำหรับเขารูปการปกครองประชาธิปไตยสมบูรณ์คือสหรัฐอเมริกา แต่เขาจะไม่พูดถึงการที่ประชาชนสหรัฐเบื่อหน่ายกับการเมืองสองขั้วของนายทุน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และการเลือกปฏิบัติต่อคนผิวดำแต่อย่างใด นอกจากนี้มีการอธิบายว่า “วัฒนธรรมตะวันตกทำให้ประชาชนเข้าใจประชาธิปไตย” ซึ่ง “ไม่เหมือนสังคมไทย”
แนวคิดนี้เสนอทฤษฏี “การทำให้ทันสมัย” ที่อธิบายว่าประเทศด้อยพัฒนายังเป็นเผด็จการเพราะชนชั้นกลางยังไม่เติบโตและสังคมยังไม่สุกงอม อันนี้กลายเป็นข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวในการที่สหรัฐถือว่าเผด็จการทหารไทยเป็นส่วนหนึ่งของ “โลกเสรี” ในสงครามเย็น เพราะในอนาคตเมื่อเศรษฐกิจเจริญไทยคงเป็นประชาธิปไตย “ไปเอง” นักวิชาการสหรัฐแนวนี้ที่มีอิทธิพลต่อนักวิชาการไทยรุ่นเดียวกับสุจิต บุญบงการ คือ Fred Riggs[2] ที่เขียนว่าไทยเป็น “รัฐข้าราชการที่กำลังพัฒนา” และประชาชนไทยส่วนใหญ่ “เหมือนเด็ก ไม่รู้เรื่องและไม่สนใจการเมือง” ในสถานการณ์แบบนี้นักวิชาการ “ผู้รู้จริง” จะต้องออกไปสอนประชาชนเรื่องประชาธิปไตย และนี้คือแนวทางของสถาบันพระปกเกล้า ที่มีคนอย่าง บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นหัวหน้า สถาบันพระปกเกล้าตั้งชื่อมาตามอดีตกษัตริย์เผด็จการ และเต็มไปด้วยนักวิชาการที่สนับสนุนรัฐประหาร ๑๙ กันยา
ตั้งแต่การล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก มีกระแสวิชาการใหม่อีกกระแสหนึ่งเกิดขึ้นมาแทนแนวโครงสร้างหน้าที่ กระแสนี้เน้นการเคลื่อนไหวของประชาชนที่ไม่สังกัดกับองค์กรรัฐ และก่อกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องประเด็นของตนเอง คนเหล่านี้เป็นพลังหลักในการขยายพื้นที่ประชาธิปไตยในความเห็นของนักวิชาการสายนี้ ข้อดีคือเน้นบทบาทประชาชน และเน้นการสร้างประชาธิปไตยโดยประชาชนจากล่างสู่บน ในสิ่งที่เขาเรียกว่า “ประชาสังคม” แต่ข้อเสียมาจากการนิยามว่าใครเป็นส่วนหนึ่งของประชาสังคม เพราะนักวิชาการฝ่ายขวาอนุรักษ์จะเน้นว่าต้องเป็นคนชั้นกลาง และเอ็นจีโอ หรือพูดง่ายๆ เป็นคนที่มีการศึกษา “ไม่โง่ [3]
แต่เราทราบดีว่าคนชั้นกลางในไทยสนับสนุนเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ และรัฐประหาร ๑๙ กันยา ทั้งๆ ที่เคยสนับสนุนการต่อสู้กับเผด็จการ รสช. ในพฤษภา ๓๕ พูดง่ายๆ คนชั้นกลางโลเล เข้าข้างเผด็จการหรือประชาธิปไตยแล้วแต่ผลประโยชน์ และเอ็นจีโอก็ไปสนับสนุน ๑๙ กันยา ทั้งๆ ที่เคยต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพในอดีต (อ่านเพิ่มในบทความของผมที่อธิบายจุดยืนเอ็นจีโอได้[4])
นอกจากนี้ชนชั้นกลางทั่วโลกก็มีพฤติกรรมที่ไม่ต่างออกไป[5] เช่นในสิงคโปร์ก็สนับสนุนรัฐบาลเผด็จการ[6] และในยุโรปตะวันออกและเกาะเฮติ เอ็นจีโอมักสนับสนุนเผด็จการหรือผลประโยชน์ธุรกิจ[7]
นักวิชาการที่เสนอแนว “ประชาสังคมแบบชนชั้นนำ” อย่างนี้นอกจาก สุจิต บุญบงการ แล้ว มี ประเวศ วะสี และ ชัยอนันต์ สมุทรวานิช [8] โดยที่ประชาสังคมของเขาจะร่วมมือกับรัฐอำมาตย์ และผู้ที่ “เป็นภัยต่อประชาธิปไตย” คือประชาชนส่วนใหญ่ที่ขาดการศึกษาและ “เข้าไม่ถึงข้อมูล” โดยเฉพาะขบวนการคนเสื้อแดง
แนวทางสร้างประชาธิปไตยของคนก้าวหน้า
สำหรับคนก้าวหน้า เรามองว่าประชาธิปไตยต้องมาจากการต่อสู้ของประชาชนคนชั้นล่างเอง มันต้องเป็นประชาธิปไตยโดยประชาชนเพื่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการก้าวหน้าอย่าง นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่มองว่า “ประชาสังคม” คือขบวนการของชาวบ้าน ไม่ใช่คนชั้นกลาง หรือนักวิชาการมาร์คซิสต์ที่มองว่าการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างกรรมาชีพหรือคนจนกับชนชั้นปกครองคือวิธีขยายประชาธิปไตย โดยไม่มีการแยกระหว่างการเคลื่อนไหวเพื่อเรื่องปากท้องเศรษฐกิจกับเรื่องการเมือง ฝ่ายก้าวหน้าจะมองว่าประชาธิปไตยไม่ได้มาจากการออกแบบของ “วิศวกรรัฐศาสตร์” โดยเฉพาะพวกนักวิชาการเสื้อเหลือง หรือมาจากการเคลื่อนไหวของคนชั้นกลางและเอ็นจีโอ และแน่นอนรัฐประหารสร้างประชาธิปไตยไม่ได้
ที่สำคัญคือ เราไม่ได้มองว่าประชาชนโง่ ไม่ว่าจะจบการศึกษาระดับใด การที่พลเมืองไทยเลือกไทยรักไทยจำนวนมาก มาจากการใช้ปัญญาในการคิดเรื่องการเมือง และบ่อยครั้งคนที่จบมหาวิทยาลัยอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนที่ทำให้ตาบอด คือไม่กล้าใช้ปัญญาอย่างสุจริตเพราะข้อสรุปจะตรงข้ามกับผลประโยชน์ตนเองในฐานะคนรวย
สำหรับเรา คนเสื้อแดงคือพลังทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย จะเรียกว่ามวลชนคนชั้นล่าง หรือจะเรียกว่าประชาสังคมของประชาชนธรรมดาก็ได้ และในการเสนอว่าคนเสื้อแดงคือประชาสังคมเพื่อประชาธิปไตย เราเข้าใจดีว่ามนุษย์ธรรมดาที่ตื่นตัวทางการเมืองและเข้ามาร่วมการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง นำความคิดเก่าๆหลากหลายที่อยู่ในหัวสมองมาเคลื่อนไหวอีกด้วย บางครั้งก็ก้าวหน้า เช่นการสนับสนุนประชาธิปไตยหรือการชื่นชมนโยบายที่เป็นประโยชน์สำหรับคนจน แต่บางครั้งก็มีความคิดล้าหลังที่ได้มาจากสังคมอำมาตย์ตกค้างอยู่ เช่นการไม่เคารพคนรักเพศเดียวกัน หรือการกดขี่ชาวมุสลิมภาคใต้เป็นต้น ในโลกจริงไม่มีใครเป็นเทวดาหรือเป็นพระแต่กำเนิด ขบวนการของเราเป็นขบวนการของพลเมืองผู้ทำงานที่มือเปื้อนดินทรายที่พยายามทำไปและเรียนรู้ไป แต่ที่สำคัญเราต้องการเดินหน้าสู่ประชาธิปไตยและความทันสมัย ในขณะที่ชนชั้นกลาง พันธมิตรฯ นักวิชาการเหลือง และเอ็นจีโอส่วนใหญ่ ต้องการปกป้องสภาพเดิมหรือหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุคอำมาตย์ในอดีต เขากลัวอนาคตในขณะที่เราต้อนรับอนาคต
อิทธิพลของพันธมิตรฯ เสื้อเหลืองในขบวนการกรรมาชีพ
สหภาพแรงงานถือว่าเป็นการรวมตัวกันของพลเมืองธรรมดา และถือว่าเป็น “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม” และส่วนหนึ่งของประชาสังคมที่มีความสำคัญ นอกจากนี้การต่อสู้เพื่อเรื่องปากท้องถือว่าเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
คนงานกรรมาชีพส่วนใหญ่ในประเทศไทยได้รับผลประโยชน์จากนโยบายของ ไทยรักไทย ไม่ใช่ว่าพรรคนี้แค่ครองใจคนในชนบทเท่านั้น เพราะคนงานในเมืองมักจะมีญาติพี่น้องพ่อแม่ที่ได้ประโยชน์จากโครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรคและกองทุนหมู่บ้าน สิ่งเหล่านี้ลดภาระของกรรมาชีพในเมืองที่เคยต้องเลี้ยงดูครอบครัวในชนบท อย่างไรก็ตามขบวนการเสื้อแดงจนถึงทุกวันนี้ยังละเลยการสร้างกระแสและกลุ่มอิทธิพลในสหภาพแรงงานต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นการละเลยแหล่งพลังสำคัญ
ในบางสหภาพแรงงาน โดยเฉพาะในรัฐวิสาหกิจรถไฟและไฟฟ้า หรือในโรงงานประกอบรถยนต์ในภาคตะวันออกบางแห่ง พวกพันธมิตรฯได้เข้าไปสร้างอิทธิพลระดับหนึ่ง แต่ลักษณะอิทธิพลของพันธมิตรฯนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะเสริมพลังกรรมาชีพหรือสหภาพแรงงานในด้านชนชั้นแต่อย่างใด และแน่นอนเป็นการต่อสู้เพื่ออำมาตย์ กษัตริย์ และนายทุนใหญ่ที่กดขี่ขูดรีดคนงานส่วนใหญ่มานาน มันจึงมีความขัดแย้งในตัวเอง
ลักษณะพิเศษของขบวนการแรงงานที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลพันธมิตรฯ มีดังนี้
  1. มักจะเป็นผู้นำแรงงานที่มีสายสัมพันธ์ส่วนตัวกับคนอย่าง สมศักดิ์ โกศัยสุข หรือสาวิทย์ แก้วหวาน ซึ่งเคยจัดกลุ่มศึกษาให้กับผู้นำแรงงานบางส่วน แต่เป็นกลุ่มศึกษาประเภท “บนลงล่าง” ที่ไม่เปิดโอกาสให้แรงงานนำตนเองแต่สอนให้เชื่อฟังอาจารย์ใหญ่มากกว่า การดึงคนงานมาต่อสู้เพื่อผลประโยชน์อำมาตย์และคนชั้นสูง ในลักษณะที่ขัดต่อประโยชน์ตนเองต้องทำภายใต้เงื่อนไขแบบนี้ แต่อย่างไรก็ตามคนงานก็คิดเองเป็น ซึ่งทำให้มีการทะเลาะถกเถียงระหว่างคนงานสายเหลืองกับแดงพอสมควรในเกือบทุกที่
  2. ผู้นำแรงงานที่เข้ากับพันธมิตรฯ มีแนวโน้มจะเป็นผู้นำแรงงานเต็มเวลา ไม่ต้องทำงานในโรงงานข้างเคียงคนงานธรรมดา และบ่อยครั้งได้รับเงินเดือนในระดับสูงกว่าคนงาน อาจได้เงินเดือนจากเอ็นจีโออีกด้วย ซึ่งทำให้ผู้นำเหล่านี้ห่างเหินจากคนงานรากหญ้าที่อาจชอบนโยบาย ไทยรักไทย ดังนั้นสภาพทางเศรษฐกิจสังคมของผู้นำเหล่านี้ช่วยให้เขาเป็นเหลืองได้
  3. วิธีการต่อสู้ของสหภาพแรงงานในรัฐวิสาหกิจในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมา มักจะมองว่าการรณรงค์ในหมู่สมาชิกให้มีการนัดหยุดงาน “ทำยาก” ผู้นำสหภาพเลยหันไปหาทางลัดโดยการเน้นการเจรจาผูกมิตรกับฝ่ายบริหารหรือนักการเมืองมากกว่าการปลุกระดมสมาชิก อันนี้เห็นชัดในกรณีรถไฟและ กฟผ. แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าสมาชิกสหภาพจะไม่เคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อประโยชน์คนงานเลย มีหลายกรณีที่ออกมาสู้ แต่วัฒนธรรมการหาพรรคพวกในหมู่ “ผู้ใหญ่” นำไปสู่การร่วมกับนายทุนอย่าง สนธิ ลิ้มทองกุล และทหาร คมช.
  4. เวลาสหภาพที่มีแกนนำเป็นเหลืองต่อสู้กับนายจ้าง เช่นในโรงงานรถยนต์ภาคตะวันออก แกนนำจะเน้นยุทธวิธีการอ้างถึงผู้ใหญ่หรือผู้มีอิทธิพลเหลืองที่สนับสนุนเขา หรืออาจนำพวกอันธพาลพันธมิตรฯ มาขู่นายจ้าง แทนที่จะปลุกระดมและสร้างความเข้มแข็งของแรงงานและสหภาพเอง ในระยะยาวการต่อสู้แบบนี้จะทำลายสหภาพ และพวกผู้ใหญ่เหลืองๆ ก็จะไม่สนใจว่าลูกน้องแรงงานเคยไปรับใช้เขาในอดีต เพราะผลประโยชน์ผู้ใหญ่คือผลประโยชน์นายทุน
อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรเหมารวมว่าสมาชิกทุกคนในสหภาพหนึ่งจะมีแนวคิดเหมือนแกนนำ และเราไม่ควรมองว่าการต่อสู้ของสหภาพเหลืองจะทำเพื่อเบื้องบนอย่างเดียวตลอดกาล ถ้าเราสามารถชักชวนให้มีการสู้เพื่อประโยชน์แท้ของคนงานในเรื่องประจำวัน เราจะมีโอกาสทำลายความจงรักภักดีที่เขามีต่อพันธมิตรฯได้ เพราะจะเกิดความขัดแย้งทางความคิดที่รุนแรงมากขึ้น
เราต้องข้ามพ้นหนังสือ สองนัคราประชาธิปไตย ของ อเนก เหล่าธรรมทัศน์[9]
หนังสือ “สองนัคราประชาธิปไตย” ของ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ดูเหมือนมีอิทธิพลสูงในสังคมไทย โดยเฉพาะในหมู่คนที่วิจารณ์และคัดค้านรัฐบาล ไทยรักไทย และสนับสนุนรัฐประหาร ๑๙ กันยา ดังนั้นเราคงต้องมาทบทวนวิเคราะห์หนังสือเล่มนี้ในบริบทการต่อสู้ขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบัน
หนังสือ “สองนัคราประชาธิปไตย” เขียนในช่วงที่สังคมไทยกำลังถกเถียงกันในเรื่องการปฏิรูปการเมืองที่นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ ที่สำคัญคือหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นก่อนที่จะเห็นผลรูปธรรมของรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ และก่อนที่จะมีการก่อตั้งพรรค ไทยรักไทย และในช่วงภายหลังเอนกเข้าไปเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ และหลังจากนั้นร่วมก่อตั้งพรรคมหาชน ในที่สุดนักวิชาการคนนี้ไปสนับสนุนรัฐประหาร ๑๙ กันยา
ข้อเสนอหลักในหนังสือ “สองนัคราประชาธิปไตย” คือ มันมีความแตกแยกสำคัญระหว่างสองซีกในสังคมไทย (สองนัครานั้นเอง) คือระหว่างคนเมืองและคนชนบท เอนกเสนอว่าคนเมืองเป็นคนชั้นกลาง และคนชนบทเป็นชาวไร่ชาวนา และเสนอต่อไปว่าคนชั้นกลางในเมืองเป็นคนที่ใช้วิจารณญาณ และมาตรฐานคุณธรรมในการเลือกหรือวิจารณ์นโยบายของรัฐบาลต่างๆ และคนชั้นกลางเหล่านี้เป็นคนที่มีความคิดอิสระ ส่วนชาวไร่ชาวนาในชนบทซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม มีคะแนนเสียงข้างมากในวันเลือกตั้ง โดยมักจะเลือกนักการเมืองท้องถิ่นในลักษณะการเลือกเจ้านายอุปถัมภ์ คือจะเลือกผู้ที่มีประสิทธิภาพในการช่วยเหลืออุปถัมภ์ตน และจะไม่มองว่าการซื้อขายเสียงผิดหรือขัดกับคุณธรรม เพราะเป็นพิธีกรรมระหว่างผู้อุปถัมภ์กับลูกน้อง เอนกมองว่าการลงคะแนนเสียงของชาวชนบทนี้ไม่ใช่ภายใต้ความคิดอิสระเหมือนชนชั้นกลาง แต่เป็นการตอบแทนบุญคุณตามระบบอุปถัมภ์ที่มีมานานตั้งแต่สมัยไพร่กับนาย
ทั้งหมดนี้ทำให้ชาวชนบทเป็นฐานคะแนนของรัฐบาล แต่คนชั้นกลางในเมืองเป็นผู้ล้มรัฐบาลเพราะไม่พอใจกับนโยบายต่างๆ แต่การวิเคราะห์สังคมไทยแบบนี้ของเอนก ที่มองว่าเส้นแบ่งหลักคือระหว่างเมืองกับชนบทมีปัญหาหลายประการคือ
  1. เอนกมองว่าคนเมืองคือชนชั้นกลาง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ ผู้บริหาร และผู้ประกอบการรายย่อยที่แสวงหารัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ แต่มีกลุ่มส่วนน้อยของชนชั้นกลางที่เป็นนักศึกษา นักวิชาการ และคนทำงานเอ็นจีโอ ซึ่งกลุ่มหลังนี้ให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมในสังคม แต่ภาพคนเมืองแบบนี้มองข้ามคนงานปกคอขาวที่ทำงานในออฟฟิสบริษัทเอกชนหรือร้านค้า มองข้ามพนักงานรัฐวิสาหกิจ คนขับรถเมล์ คนขับแทกซี่ คนงานในโรงงาน และลูกจ้างของหน่วยงานรัฐ ในความเป็นจริงคนส่วนใหญ่ในเมืองเป็นชนชั้นกรรมาชีพ ทั้งปกคอขาวและปกคอน้ำเงิน
  2. เอนกมองข้ามการแบ่งชนชั้นในชนบท และการที่เกิดเมืองต่างๆ ทั้งใหญ่และเล็กในต่างจังหวัด ซึ่งทำให้คนต่างจังหวัดไม่ได้เป็นแค่ชาวไร่ชาวนาเท่านั้น
  3. การเสนอว่าคนชนบทเป็นผู้ที่ขึ้นกับนายอุปถัมภ์ เป็นการดูถูกความสามารถของเขาที่จะคิดเองอย่างอิสระ เป็นการโทษคนชนบทว่าเป็นฐานเสียงนักการเมืองแย่ๆ
ระบบอุปถัมภ์ในชนบท?
หนังสือ “สองนัคราประชาธิปไตย” เริ่มมีความน่าสนใจมากขึ้นสำหรับประเด็นปัญหายุคนี้เมื่อเราพิจารณาข้อเสนอของเอนกในการแก้ปัญหาการซื้อขายเสียงและระบบอุปถัมภ์ในชนบท
เอนกมีข้อเสนอสำคัญสองข้อคือ
  1. รัฐบาลต้องลงมาพัฒนาชนบทโดยตรงเพื่อให้การผลิตในชนบทเชื่อมโยงกับระบบตลาดของทุนนิยม ต้องมีการเพิ่มเทคโนโลจี และทุ่มเทงบประมาณรัฐในด้านนี้ ชนบทจะได้มี “ความเป็นเมือง” มากขึ้น
  2. ต้องมีพรรคการเมืองที่เน้นนโยบายที่ชัดเจน เพื่อให้นโยบายกลายเป็นประเด็นหลักในการเลือกรัฐบาลของชาวชนบท แทนระบบอุปถัมภ์ ซึ่งจะมีผลในการลดอิทธิพลของนักการเมืองท้องถิ่นอีกด้วย
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับคำนิยามของระบบอุปถัมภ์ที่นักสังคมศาสตร์ทั่วไปใช้กัน และที่อเนกใช้ในหนังสือ“สองนัคราประชาธิปไตย” ระบบอุปถัมภ์ดังกล่าวมักเป็นสายสัมพันธ์ปัจเจกระหว่างนายกับผู้ได้รับอุปถัมภ์ ไม่ใช่สายสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐบาล และในกรณีที่พรรคการเมืองเป็นผู้อุปถัมภ์ ผลประโยชน์ที่พรรคยื่นให้ประชาชนเป็นผลประโยชน์พิเศษที่ตกกับคนกลุ่มหนึ่งตระกูลหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ประชาชนส่วนใหญ่ และพรรคการเมืองแบบนี้มักไม่สนใจการเสนอนโยบายเลย[10]
ถ้าเราอ่านแล้วตั้งคำถามว่า ไทยรักไทย ทำอะไร? มันคงเริ่มชัดเจนว่า ไทยรักไทย ทำตามข้อเสนอของเอนกทุกข้อ คือมีการทุ่มเทงบประมาณลงในหมู่บ้านเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า มีการรณรงค์ให้ทำ OTOP มีการพยายามพัฒนาระบบการศึกษา และระบบสาธารณสุข และรัฐบาลเริ่มลดอิทธิพลของนักการเมืองท้องถิ่นและการซื้อขายเสียงลงโดยการเชื่อมชนบทกับนโยบายรัฐบาลโดยตรง และที่สำคัญ ไทยรักไทย เป็นพรรคการเมืองแรกในรอบ 20 กว่าปีที่เสนอนโยบายชัดเจนในการหาเสียง และพยายามทำตามนโยบายดังกล่าวเมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาล
อย่างไรก็ตามในหมู่นักวิชาการและนักเคลื่อนไหวเสื้อเหลือง มีการพูดเกือบจะเป็นหนึ่งเลยว่ารัฐบาลทักษิณ “สร้างระบบอุปถัมภ์ในชนบทผ่านนโยบายประชานิยม” และมีการเสนอต่อว่าสาเหตุที่คนจนและคนชนบทลงคะแนนเสียงให้ ไทยรักไทย ในปี ๒๕๔๘ และ ๒๕๔๙ ก็เพราะ “ชาวชนบทไม่ได้ตัดสินใจอย่างอิสระ เนื่องจากถูกดึงมาเข้าระบบอุปถัมภ์ และไม่ได้รับรู้ข้อมูลแท้เกี่ยวกับรัฐบาล” และที่แปลกที่สุดคือมีการอ้างถึงหนังสือ “สองนัคราประชาธิปไตย” เพื่อพยายามให้น้ำหนักกับแนวคิดนี้ เป็นไปได้อย่างไรที่มีการมองกลับหัวกลับหางอย่างสิ้นเชิงแบบนี้? คำตอบคือข้อมูลความจริงไม่เคยเป็นอุปสรรค์ต่อการโกหกของนักวิชาการเสื้อเหลืองเลย
แล้วอเนกทำอะไรในยุค ไทยรักไทย? ในยุคที่นำ พรรคมหาชน เอนกอาศัยการอุปถัมภ์จากเจ้าพ่อการเมืองแบบเก่าสองคนคือเสธ.หนั่นกับวัฒนา อัศวเหม[11] ต่อมาหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา เอนกเสนอว่าประชาธิปไตยที่เหมาะที่สุดสำหรับประเทศไทยคือ “แบบไทยๆ” หรือแบบอำมาตย์นั้นเอง เพราะมองว่าประชาชนต้องแบ่งอำนาจกับทหารและกษัตริย์[12]
ในความเป็นจริง การเลือกตั้งที่ผ่านมาพิสูจน์ว่าคนชนบท และคนจนในเมือง ชื่นชมในนโยบายประชานิยมของรัฐบาล ไทยรักไทย และในเมื่อมีแค่พรรค ประชาธิปัตย์ ชาติไทย มหาชน และ ไทยรักไทย ให้เลือกในโลกจริง ชาวชนบทใช้วิจารณญาณและความคิดอิสระในการเลือกรัฐบาลของพรรคที่มีนโยบายชัดเจน ในขณะที่ชนชั้นกลางที่เคยนิยม ไทยรักไทย ในช่วงต้นๆ เปลี่ยนรสนิยมตามแฟชั่นและวิ่งตามฝูงโดยไม่มีความคิดอิสระ แถมยังดูถูกคนจน ไม่ไว้ใจการลงคะแนนเสียงในระบบประชาธิปไตย และหันมาเรียกร้องให้กษัตริย์แต่งตั้งรัฐบาลตามมาตรา 7 และหลังจากนั้นก็เชียร์รัฐประหาร
ปัญหาหลักของ ไทยรักไทย ไม่ได้อยู่ที่การสร้างระบบอุปถัมภ์ในชนบท และไม่ได้อยู่ที่การสร้างเผด็จการใดๆ หรือการคอร์รับชั่นเป็นพิเศษมากกว่าพรรคอื่นหรือองค์กรอื่นๆ แต่อยู่ที่การปราบปรามประชาชนในภาคใต้และในสงครามยาเสพติด พร้อมกับการใช้นโยบายเสรีนิยมกลไกตลาด ซึ่งทำลายประสิทธิภาพของนโยบายสวัสดิการของรัฐบาล ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งเป็นนโยบายที่ดีและก้าวหน้า เกิดข้อเสียเพราะมีงบประมาณไม่พอเนื่องจากรัฐบาลไม่ยอมเก็บภาษีเพิ่มจากคนรวย และใช้กลไกตลาดในการคิดบัญชีภายในระบบเอง ยิ่งกว่านั้นการเซ็นสัญญา FTA ที่ให้อภิสิทธิ์อันไม่ชอบธรรมแก่บริษัทยาที่สร้างกำไรจากลิขสิทธิ์ยาราคาแพง มีผลในแง่ลบต่อเป้าหมายของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคอีกด้วย[13]
สรุป
ปัญหาประชาธิปไตยในไทย ไม่ใช่ปัญหาของการที่ประชาชนขาดการศึกษาหรือตกอยู่ในระบบอุปถัมภ์ แต่อย่างใด แต่ปัญหาประชาธิปไตยมาจากจุดยืนและการกระทำของอำมาตย์กับชนชั้นกลาง และการดูถูกไม่เคารพพลเมืองธรรมดาของนักวิชาการและผู้นำเอ็นจีโอ
อำมาตย์และพวกเสื้อเหลืองมองว่าเขาฝ่ายเดียวเข้าใจประชาธิปไตยและมีสิทธิ์ใช้อำนาจและอิทธิพลในสังคม แต่ฝ่ายเรามองว่าประชาธิปไตยแท้สร้างจากพลเมืองธรรมดา จากล่างสู่บน และขบวนการเสื้อแดงมีบทบาทสำคัญตรงนี้
7 กุมภาพันธ์ 2010


[1] ตัวอย่างเช่น

Date: Sun, 7 Feb 2010 16:35:31 -0600
Subject: การขยายพื้นที่ประชาธิปไตย
From: oversighttrue@gmail.com
To: utens2008@yahoo.com; babarian_nature1@hotmail.com; vanidam@yahoo.com; somton@gmail.com; ning101km@hotmail.com

การขยายพื้นที่ประชาธิปไตยกับแนวคิดเรื่อง “ประชาสังคม”
ใจ อึ๊งภากรณ์

แนวคิดเรื่องการสร้าง “ประชาธิปไตย” ของอำมาตย์
หัวข้อนี้อาจดูแปลกๆ เพราะอำมาตย์เป็นพวกทำลายประชาธิปไตย แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกระแสประชาธิปไตยเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในสังคมไทยและทั่วโลก แม้แต่อำมาตย์เอง และโดยเฉพาะนักวิชาการเหลืองที่รับใช้อำมาตย์ ยังต้องสร้างเรื่องเพื่อให้รูปแบบการปกครองของเขาดูดีอาศัยความชอบธรรมจากคำว่า “ประชาธิปไตย” ทั้งๆ ที่มันคือเผด็จการชัดๆ
ในงานสัมมนาในปลายเดือนมกราคมปี ๒๕๕๓ ที่มหาวิทยาลัยลอนดอน สุจิต บุญบงการ นักวิชาการเหลือง พยายามใส่ร้ายว่าขบวนการคนเสื้อแดงไม่ได้เป็นตัวแทนของคนส่วนใหญ่ ทั้งๆ ที่การเลือกตั้งทั่วไปในรอบสิบปีที่ผ่านมาพิสูจน์ว่ามันไม่ใช่อย่างที่สุจิตว่า สุจิตพยายามชี้ถึง “พลังเงียบ” ของคนที่ไม่เอาทั้งสองฝ่าย แต่เนื่องจากพลังเงียบไม่ออกความเห็น(มันจึงเงียบ) เราไม่มีวันทราบว่าเขาคิดอย่างไร และในขณะเดียวกันไม่มีข้อมูลอะไรที่เสนอว่าพลังเงียบดังกล่าวเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม อย่างไรก็ตาม สุจิตก็ท่องสูตรนักวิชาการอนุรักษ์ และพูดถึง “ประชาสังคม” ว่าเป็นพลังในการสร้างประชาธิปไตย ประชาสังคมของคนอย่างสุจิตคือคนชั้นกลาง นักวิชาการ และนักเอ็นจีโอ ซึ่งถ้าพิจารณาในบริบทของสังคมไทยแล้วคนกลุ่มนี้เข้าข้างเผด็จการ สนับสนุนรัฐประหาร ๑๙ กันยา และดูถูกวุฒิภาวะของพลเมืองส่วนใหญ่ในประเทศว่า “เข้าไม่ถึงข้อมูล” หรือ “ไม่เข้าใจประชาธิปไตย”
ตกลงแล้วสำหรับนักวิชาการอำมาตย์ พลเมืองส่วนใหญ่ที่เคยเลือกพรรคไทยรักไทย พลังประชาชน หรือเพื่อไทย ไม่ฉลาดเท่าตัวเขาเองเพราะไปถูกหลอถูกซื้อ ไม่เหมือนนักวิชาการ นักเอ็นจีโอ หรือคนชั้นกลางที่ “รู้จริง” อันนี้เป็นแนวอภิสิทธิ์ชนชัดๆ แต่มันมีที่มาที่ไปและเชื่อมกับแนวคิดอนุรักษ์สากลด้วย
รัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยไทยจนถึงยุคช่วงพฤษภา ๓๕ ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดรัฐศาสตร์ฝ่ายขวาอเมริกา ที่เสนอแนวคิด “โครงสร้างหน้าที่”[1] แนวคิดนี้เน้นการสร้างประชาธิปไตยเหมือนวิศวกรสร้างเครื่องจักร คือมีการออกแบบสถาบันการเมืองต่างๆ และกระบวนการทางการเมือง เพื่อสร้างความมั่นคงของการปกครองของชนชั้นอภิสิทธิ์ โดยชนชั้นอภิสิทธิ์เองและนักวิชาการชนชั้นกลาง สำหรับเขารูปการปกครองประชาธิปไตยสมบูรณ์คือสหรัฐอเมริกา แต่เขาจะไม่พูดถึงการที่ประชาชนสหรัฐเบื่อหน่ายกับการเมืองสองขั้วของนายทุน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และการเลือกปฏิบัติต่อคนผิวดำแต่อย่างใด นอกจากนี้มีการอธิบายว่า “วัฒนธรรมตะวันตกทำให้ประชาชนเข้าใจประชาธิปไตย” ซึ่ง “ไม่เหมือนสังคมไทย”
แนวคิดนี้เสนอทฤษฏี “การทำให้ทันสมัย” ที่อธิบายว่าประเทศด้อยพัฒนายังเป็นเผด็จการเพราะชนชั้นกลางยังไม่เติบโตและสังคมยังไม่สุกงอม อันนี้กลายเป็นข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวในการที่สหรัฐถือว่าเผด็จการทหารไทยเป็นส่วนหนึ่งของ “โลกเสรี” ในสงครามเย็น เพราะในอนาคตเมื่อเศรษฐกิจเจริญไทยคงเป็นประชาธิปไตย “ไปเอง” นักวิชาการสหรัฐแนวนี้ที่มีอิทธิพลต่อนักวิชาการไทยรุ่นเดียวกับสุจิต บุญบงการ คือ Fred Riggs[2] ที่เขียนว่าไทยเป็น “รัฐข้าราชการที่กำลังพัฒนา” และประชาชนไทยส่วนใหญ่ “เหมือนเด็ก ไม่รู้เรื่องและไม่สนใจการเมือง” ในสถานการณ์แบบนี้นักวิชาการ “ผู้รู้จริง” จะต้องออกไปสอนประชาชนเรื่องประชาธิปไตย และนี้คือแนวทางของสถาบันพระปกเกล้า ที่มีคนอย่าง บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นหัวหน้า สถาบันพระปกเกล้าตั้งชื่อมาตามอดีตกษัตริย์เผด็จการ และเต็มไปด้วยนักวิชาการที่สนับสนุนรัฐประหาร ๑๙ กันยา
ตั้งแต่การล่มสลายของพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลก มีกระแสวิชาการใหม่อีกกระแสหนึ่งเกิดขึ้นมาแทนแนวโครงสร้างหน้าที่ กระแสนี้เน้นการเคลื่อนไหวของประชาชนที่ไม่สังกัดกับองค์กรรัฐ และก่อกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องประเด็นของตนเอง คนเหล่านี้เป็นพลังหลักในการขยายพื้นที่ประชาธิปไตยในความเห็นของนักวิชาการสายนี้ ข้อดีคือเน้นบทบาทประชาชน และเน้นการสร้างประชาธิปไตยโดยประชาชนจากล่างสู่บน ในสิ่งที่เขาเรียกว่า “ประชาสังคม” แต่ข้อเสียมาจากการนิยามว่าใครเป็นส่วนหนึ่งของประชาสังคม เพราะนักวิชาการฝ่ายขวาอนุรักษ์จะเน้นว่าต้องเป็นคนชั้นกลาง และเอ็นจีโอ หรือพูดง่ายๆ เป็นคนที่มีการศึกษา “ไม่โง่ [3]
แต่เราทราบดีว่าคนชั้นกลางในไทยสนับสนุนเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ และรัฐประหาร ๑๙ กันยา ทั้งๆ ที่เคยสนับสนุนการต่อสู้กับเผด็จการ รสช. ในพฤษภา ๓๕ พูดง่ายๆ คนชั้นกลางโลเล เข้าข้างเผด็จการหรือประชาธิปไตยแล้วแต่ผลประโยชน์ และเอ็นจีโอก็ไปสนับสนุน ๑๙ กันยา ทั้งๆ ที่เคยต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพในอดีต (อ่านเพิ่มในบทความของผมที่อธิบายจุดยืนเอ็นจีโอได้[4])
นอกจากนี้ชนชั้นกลางทั่วโลกก็มีพฤติกรรมที่ไม่ต่างออกไป[5] เช่นในสิงคโปร์ก็สนับสนุนรัฐบาลเผด็จการ[6] และในยุโรปตะวันออกและเกาะเฮติ เอ็นจีโอมักสนับสนุนเผด็จการหรือผลประโยชน์ธุรกิจ[7]
นักวิชาการที่เสนอแนว “ประชาสังคมแบบชนชั้นนำ” อย่างนี้นอกจาก สุจิต บุญบงการ แล้ว มี ประเวศ วะสี และ ชัยอนันต์ สมุทรวานิช [8] โดยที่ประชาสังคมของเขาจะร่วมมือกับรัฐอำมาตย์ และผู้ที่ “เป็นภัยต่อประชาธิปไตย” คือประชาชนส่วนใหญ่ที่ขาดการศึกษาและ “เข้าไม่ถึงข้อมูล” โดยเฉพาะขบวนการคนเสื้อแดง
แนวทางสร้างประชาธิปไตยของคนก้าวหน้า
สำหรับคนก้าวหน้า เรามองว่าประชาธิปไตยต้องมาจากการต่อสู้ของประชาชนคนชั้นล่างเอง มันต้องเป็นประชาธิปไตยโดยประชาชนเพื่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการก้าวหน้าอย่าง นิธิ เอียวศรีวงศ์ ที่มองว่า “ประชาสังคม” คือขบวนการของชาวบ้าน ไม่ใช่คนชั้นกลาง หรือนักวิชาการมาร์คซิสต์ที่มองว่าการต่อสู้ทางชนชั้นระหว่างกรรมาชีพหรือคนจนกับชนชั้นปกครองคือวิธีขยายประชาธิปไตย โดยไม่มีการแยกระหว่างการเคลื่อนไหวเพื่อเรื่องปากท้องเศรษฐกิจกับเรื่องการเมือง ฝ่ายก้าวหน้าจะมองว่าประชาธิปไตยไม่ได้มาจากการออกแบบของ “วิศวกรรัฐศาสตร์” โดยเฉพาะพวกนักวิชาการเสื้อเหลือง หรือมาจากการเคลื่อนไหวของคนชั้นกลางและเอ็นจีโอ และแน่นอนรัฐประหารสร้างประชาธิปไตยไม่ได้
ที่สำคัญคือ เราไม่ได้มองว่าประชาชนโง่ ไม่ว่าจะจบการศึกษาระดับใด การที่พลเมืองไทยเลือกไทยรักไทยจำนวนมาก มาจากการใช้ปัญญาในการคิดเรื่องการเมือง และบ่อยครั้งคนที่จบมหาวิทยาลัยอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนที่ทำให้ตาบอด คือไม่กล้าใช้ปัญญาอย่างสุจริตเพราะข้อสรุปจะตรงข้ามกับผลประโยชน์ตนเองในฐานะคนรวย
สำหรับเรา คนเสื้อแดงคือพลังทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย จะเรียกว่ามวลชนคนชั้นล่าง หรือจะเรียกว่าประชาสังคมของประชาชนธรรมดาก็ได้ และในการเสนอว่าคนเสื้อแดงคือประชาสังคมเพื่อประชาธิปไตย เราเข้าใจดีว่ามนุษย์ธรรมดาที่ตื่นตัวทางการเมืองและเข้ามาร่วมการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง นำความคิดเก่าๆหลากหลายที่อยู่ในหัวสมองมาเคลื่อนไหวอีกด้วย บางครั้งก็ก้าวหน้า เช่นการสนับสนุนประชาธิปไตยหรือการชื่นชมนโยบายที่เป็นประโยชน์สำหรับคนจน แต่บางครั้งก็มีความคิดล้าหลังที่ได้มาจากสังคมอำมาตย์ตกค้างอยู่ เช่นการไม่เคารพคนรักเพศเดียวกัน หรือการกดขี่ชาวมุสลิมภาคใต้เป็นต้น ในโลกจริงไม่มีใครเป็นเทวดาหรือเป็นพระแต่กำเนิด ขบวนการของเราเป็นขบวนการของพลเมืองผู้ทำงานที่มือเปื้อนดินทรายที่พยายามทำไปและเรียนรู้ไป แต่ที่สำคัญเราต้องการเดินหน้าสู่ประชาธิปไตยและความทันสมัย ในขณะที่ชนชั้นกลาง พันธมิตรฯ นักวิชาการเหลือง และเอ็นจีโอส่วนใหญ่ ต้องการปกป้องสภาพเดิมหรือหมุนนาฬิกากลับไปสู่ยุคอำมาตย์ในอดีต เขากลัวอนาคตในขณะที่เราต้อนรับอนาคต
อิทธิพลของพันธมิตรฯ เสื้อเหลืองในขบวนการกรรมาชีพ
สหภาพแรงงานถือว่าเป็นการรวมตัวกันของพลเมืองธรรมดา และถือว่าเป็น “ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม” และส่วนหนึ่งของประชาสังคมที่มีความสำคัญ นอกจากนี้การต่อสู้เพื่อเรื่องปากท้องถือว่าเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
คนงานกรรมาชีพส่วนใหญ่ในประเทศไทยได้รับผลประโยชน์จากนโยบายของ ไทยรักไทย ไม่ใช่ว่าพรรคนี้แค่ครองใจคนในชนบทเท่านั้น เพราะคนงานในเมืองมักจะมีญาติพี่น้องพ่อแม่ที่ได้ประโยชน์จากโครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรคและกองทุนหมู่บ้าน สิ่งเหล่านี้ลดภาระของกรรมาชีพในเมืองที่เคยต้องเลี้ยงดูครอบครัวในชนบท อย่างไรก็ตามขบวนการเสื้อแดงจนถึงทุกวันนี้ยังละเลยการสร้างกระแสและกลุ่มอิทธิพลในสหภาพแรงงานต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นการละเลยแหล่งพลังสำคัญ
ในบางสหภาพแรงงาน โดยเฉพาะในรัฐวิสาหกิจรถไฟและไฟฟ้า หรือในโรงงานประกอบรถยนต์ในภาคตะวันออกบางแห่ง พวกพันธมิตรฯได้เข้าไปสร้างอิทธิพลระดับหนึ่ง แต่ลักษณะอิทธิพลของพันธมิตรฯนี้ไม่ใช่สิ่งที่จะเสริมพลังกรรมาชีพหรือสหภาพแรงงานในด้านชนชั้นแต่อย่างใด และแน่นอนเป็นการต่อสู้เพื่ออำมาตย์ กษัตริย์ และนายทุนใหญ่ที่กดขี่ขูดรีดคนงานส่วนใหญ่มานาน มันจึงมีความขัดแย้งในตัวเอง
ลักษณะพิเศษของขบวนการแรงงานที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลพันธมิตรฯ มีดังนี้
  1. มักจะเป็นผู้นำแรงงานที่มีสายสัมพันธ์ส่วนตัวกับคนอย่าง สมศักดิ์ โกศัยสุข หรือสาวิทย์ แก้วหวาน ซึ่งเคยจัดกลุ่มศึกษาให้กับผู้นำแรงงานบางส่วน แต่เป็นกลุ่มศึกษาประเภท “บนลงล่าง” ที่ไม่เปิดโอกาสให้แรงงานนำตนเองแต่สอนให้เชื่อฟังอาจารย์ใหญ่มากกว่า การดึงคนงานมาต่อสู้เพื่อผลประโยชน์อำมาตย์และคนชั้นสูง ในลักษณะที่ขัดต่อประโยชน์ตนเองต้องทำภายใต้เงื่อนไขแบบนี้ แต่อย่างไรก็ตามคนงานก็คิดเองเป็น ซึ่งทำให้มีการทะเลาะถกเถียงระหว่างคนงานสายเหลืองกับแดงพอสมควรในเกือบทุกที่
  2. ผู้นำแรงงานที่เข้ากับพันธมิตรฯ มีแนวโน้มจะเป็นผู้นำแรงงานเต็มเวลา ไม่ต้องทำงานในโรงงานข้างเคียงคนงานธรรมดา และบ่อยครั้งได้รับเงินเดือนในระดับสูงกว่าคนงาน อาจได้เงินเดือนจากเอ็นจีโออีกด้วย ซึ่งทำให้ผู้นำเหล่านี้ห่างเหินจากคนงานรากหญ้าที่อาจชอบนโยบาย ไทยรักไทย ดังนั้นสภาพทางเศรษฐกิจสังคมของผู้นำเหล่านี้ช่วยให้เขาเป็นเหลืองได้
  3. วิธีการต่อสู้ของสหภาพแรงงานในรัฐวิสาหกิจในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมา มักจะมองว่าการรณรงค์ในหมู่สมาชิกให้มีการนัดหยุดงาน “ทำยาก” ผู้นำสหภาพเลยหันไปหาทางลัดโดยการเน้นการเจรจาผูกมิตรกับฝ่ายบริหารหรือนักการเมืองมากกว่าการปลุกระดมสมาชิก อันนี้เห็นชัดในกรณีรถไฟและ กฟผ. แต่นั้นไม่ได้หมายความว่าสมาชิกสหภาพจะไม่เคลื่อนไหวต่อสู้เพื่อประโยชน์คนงานเลย มีหลายกรณีที่ออกมาสู้ แต่วัฒนธรรมการหาพรรคพวกในหมู่ “ผู้ใหญ่” นำไปสู่การร่วมกับนายทุนอย่าง สนธิ ลิ้มทองกุล และทหาร คมช.
  4. เวลาสหภาพที่มีแกนนำเป็นเหลืองต่อสู้กับนายจ้าง เช่นในโรงงานรถยนต์ภาคตะวันออก แกนนำจะเน้นยุทธวิธีการอ้างถึงผู้ใหญ่หรือผู้มีอิทธิพลเหลืองที่สนับสนุนเขา หรืออาจนำพวกอันธพาลพันธมิตรฯ มาขู่นายจ้าง แทนที่จะปลุกระดมและสร้างความเข้มแข็งของแรงงานและสหภาพเอง ในระยะยาวการต่อสู้แบบนี้จะทำลายสหภาพ และพวกผู้ใหญ่เหลืองๆ ก็จะไม่สนใจว่าลูกน้องแรงงานเคยไปรับใช้เขาในอดีต เพราะผลประโยชน์ผู้ใหญ่คือผลประโยชน์นายทุน
อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรเหมารวมว่าสมาชิกทุกคนในสหภาพหนึ่งจะมีแนวคิดเหมือนแกนนำ และเราไม่ควรมองว่าการต่อสู้ของสหภาพเหลืองจะทำเพื่อเบื้องบนอย่างเดียวตลอดกาล ถ้าเราสามารถชักชวนให้มีการสู้เพื่อประโยชน์แท้ของคนงานในเรื่องประจำวัน เราจะมีโอกาสทำลายความจงรักภักดีที่เขามีต่อพันธมิตรฯได้ เพราะจะเกิดความขัดแย้งทางความคิดที่รุนแรงมากขึ้น
เราต้องข้ามพ้นหนังสือ สองนัคราประชาธิปไตย ของ อเนก เหล่าธรรมทัศน์[9]
หนังสือ “สองนัคราประชาธิปไตย” ของ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ดูเหมือนมีอิทธิพลสูงในสังคมไทย โดยเฉพาะในหมู่คนที่วิจารณ์และคัดค้านรัฐบาล ไทยรักไทย และสนับสนุนรัฐประหาร ๑๙ กันยา ดังนั้นเราคงต้องมาทบทวนวิเคราะห์หนังสือเล่มนี้ในบริบทการต่อสู้ขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบัน
หนังสือ “สองนัคราประชาธิปไตย” เขียนในช่วงที่สังคมไทยกำลังถกเถียงกันในเรื่องการปฏิรูปการเมืองที่นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ ที่สำคัญคือหนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นก่อนที่จะเห็นผลรูปธรรมของรัฐธรรมนูญปี ๒๕๔๐ และก่อนที่จะมีการก่อตั้งพรรค ไทยรักไทย และในช่วงภายหลังเอนกเข้าไปเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ และหลังจากนั้นร่วมก่อตั้งพรรคมหาชน ในที่สุดนักวิชาการคนนี้ไปสนับสนุนรัฐประหาร ๑๙ กันยา
ข้อเสนอหลักในหนังสือ “สองนัคราประชาธิปไตย” คือ มันมีความแตกแยกสำคัญระหว่างสองซีกในสังคมไทย (สองนัครานั้นเอง) คือระหว่างคนเมืองและคนชนบท เอนกเสนอว่าคนเมืองเป็นคนชั้นกลาง และคนชนบทเป็นชาวไร่ชาวนา และเสนอต่อไปว่าคนชั้นกลางในเมืองเป็นคนที่ใช้วิจารณญาณ และมาตรฐานคุณธรรมในการเลือกหรือวิจารณ์นโยบายของรัฐบาลต่างๆ และคนชั้นกลางเหล่านี้เป็นคนที่มีความคิดอิสระ ส่วนชาวไร่ชาวนาในชนบทซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม มีคะแนนเสียงข้างมากในวันเลือกตั้ง โดยมักจะเลือกนักการเมืองท้องถิ่นในลักษณะการเลือกเจ้านายอุปถัมภ์ คือจะเลือกผู้ที่มีประสิทธิภาพในการช่วยเหลืออุปถัมภ์ตน และจะไม่มองว่าการซื้อขายเสียงผิดหรือขัดกับคุณธรรม เพราะเป็นพิธีกรรมระหว่างผู้อุปถัมภ์กับลูกน้อง เอนกมองว่าการลงคะแนนเสียงของชาวชนบทนี้ไม่ใช่ภายใต้ความคิดอิสระเหมือนชนชั้นกลาง แต่เป็นการตอบแทนบุญคุณตามระบบอุปถัมภ์ที่มีมานานตั้งแต่สมัยไพร่กับนาย
ทั้งหมดนี้ทำให้ชาวชนบทเป็นฐานคะแนนของรัฐบาล แต่คนชั้นกลางในเมืองเป็นผู้ล้มรัฐบาลเพราะไม่พอใจกับนโยบายต่างๆ แต่การวิเคราะห์สังคมไทยแบบนี้ของเอนก ที่มองว่าเส้นแบ่งหลักคือระหว่างเมืองกับชนบทมีปัญหาหลายประการคือ
  1. เอนกมองว่าคนเมืองคือชนชั้นกลาง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ ผู้บริหาร และผู้ประกอบการรายย่อยที่แสวงหารัฐบาลที่มีประสิทธิภาพ แต่มีกลุ่มส่วนน้อยของชนชั้นกลางที่เป็นนักศึกษา นักวิชาการ และคนทำงานเอ็นจีโอ ซึ่งกลุ่มหลังนี้ให้ความสำคัญกับความเป็นธรรมในสังคม แต่ภาพคนเมืองแบบนี้มองข้ามคนงานปกคอขาวที่ทำงานในออฟฟิสบริษัทเอกชนหรือร้านค้า มองข้ามพนักงานรัฐวิสาหกิจ คนขับรถเมล์ คนขับแทกซี่ คนงานในโรงงาน และลูกจ้างของหน่วยงานรัฐ ในความเป็นจริงคนส่วนใหญ่ในเมืองเป็นชนชั้นกรรมาชีพ ทั้งปกคอขาวและปกคอน้ำเงิน
  2. เอนกมองข้ามการแบ่งชนชั้นในชนบท และการที่เกิดเมืองต่างๆ ทั้งใหญ่และเล็กในต่างจังหวัด ซึ่งทำให้คนต่างจังหวัดไม่ได้เป็นแค่ชาวไร่ชาวนาเท่านั้น
  3. การเสนอว่าคนชนบทเป็นผู้ที่ขึ้นกับนายอุปถัมภ์ เป็นการดูถูกความสามารถของเขาที่จะคิดเองอย่างอิสระ เป็นการโทษคนชนบทว่าเป็นฐานเสียงนักการเมืองแย่ๆ
ระบบอุปถัมภ์ในชนบท?
หนังสือ “สองนัคราประชาธิปไตย” เริ่มมีความน่าสนใจมากขึ้นสำหรับประเด็นปัญหายุคนี้เมื่อเราพิจารณาข้อเสนอของเอนกในการแก้ปัญหาการซื้อขายเสียงและระบบอุปถัมภ์ในชนบท
เอนกมีข้อเสนอสำคัญสองข้อคือ
  1. รัฐบาลต้องลงมาพัฒนาชนบทโดยตรงเพื่อให้การผลิตในชนบทเชื่อมโยงกับระบบตลาดของทุนนิยม ต้องมีการเพิ่มเทคโนโลจี และทุ่มเทงบประมาณรัฐในด้านนี้ ชนบทจะได้มี “ความเป็นเมือง” มากขึ้น
  2. ต้องมีพรรคการเมืองที่เน้นนโยบายที่ชัดเจน เพื่อให้นโยบายกลายเป็นประเด็นหลักในการเลือกรัฐบาลของชาวชนบท แทนระบบอุปถัมภ์ ซึ่งจะมีผลในการลดอิทธิพลของนักการเมืองท้องถิ่นอีกด้วย
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับคำนิยามของระบบอุปถัมภ์ที่นักสังคมศาสตร์ทั่วไปใช้กัน และที่อเนกใช้ในหนังสือ“สองนัคราประชาธิปไตย” ระบบอุปถัมภ์ดังกล่าวมักเป็นสายสัมพันธ์ปัจเจกระหว่างนายกับผู้ได้รับอุปถัมภ์ ไม่ใช่สายสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับรัฐบาล และในกรณีที่พรรคการเมืองเป็นผู้อุปถัมภ์ ผลประโยชน์ที่พรรคยื่นให้ประชาชนเป็นผลประโยชน์พิเศษที่ตกกับคนกลุ่มหนึ่งตระกูลหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ประชาชนส่วนใหญ่ และพรรคการเมืองแบบนี้มักไม่สนใจการเสนอนโยบายเลย[10]
ถ้าเราอ่านแล้วตั้งคำถามว่า ไทยรักไทย ทำอะไร? มันคงเริ่มชัดเจนว่า ไทยรักไทย ทำตามข้อเสนอของเอนกทุกข้อ คือมีการทุ่มเทงบประมาณลงในหมู่บ้านเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้า มีการรณรงค์ให้ทำ OTOP มีการพยายามพัฒนาระบบการศึกษา และระบบสาธารณสุข และรัฐบาลเริ่มลดอิทธิพลของนักการเมืองท้องถิ่นและการซื้อขายเสียงลงโดยการเชื่อมชนบทกับนโยบายรัฐบาลโดยตรง และที่สำคัญ ไทยรักไทย เป็นพรรคการเมืองแรกในรอบ 20 กว่าปีที่เสนอนโยบายชัดเจนในการหาเสียง และพยายามทำตามนโยบายดังกล่าวเมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาล
อย่างไรก็ตามในหมู่นักวิชาการและนักเคลื่อนไหวเสื้อเหลือง มีการพูดเกือบจะเป็นหนึ่งเลยว่ารัฐบาลทักษิณ “สร้างระบบอุปถัมภ์ในชนบทผ่านนโยบายประชานิยม” และมีการเสนอต่อว่าสาเหตุที่คนจนและคนชนบทลงคะแนนเสียงให้ ไทยรักไทย ในปี ๒๕๔๘ และ ๒๕๔๙ ก็เพราะ “ชาวชนบทไม่ได้ตัดสินใจอย่างอิสระ เนื่องจากถูกดึงมาเข้าระบบอุปถัมภ์ และไม่ได้รับรู้ข้อมูลแท้เกี่ยวกับรัฐบาล” และที่แปลกที่สุดคือมีการอ้างถึงหนังสือ “สองนัคราประชาธิปไตย” เพื่อพยายามให้น้ำหนักกับแนวคิดนี้ เป็นไปได้อย่างไรที่มีการมองกลับหัวกลับหางอย่างสิ้นเชิงแบบนี้? คำตอบคือข้อมูลความจริงไม่เคยเป็นอุปสรรค์ต่อการโกหกของนักวิชาการเสื้อเหลืองเลย
แล้วอเนกทำอะไรในยุค ไทยรักไทย? ในยุคที่นำ พรรคมหาชน เอนกอาศัยการอุปถัมภ์จากเจ้าพ่อการเมืองแบบเก่าสองคนคือเสธ.หนั่นกับวัฒนา อัศวเหม[11] ต่อมาหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา เอนกเสนอว่าประชาธิปไตยที่เหมาะที่สุดสำหรับประเทศไทยคือ “แบบไทยๆ” หรือแบบอำมาตย์นั้นเอง เพราะมองว่าประชาชนต้องแบ่งอำนาจกับทหารและกษัตริย์[12]
ในความเป็นจริง การเลือกตั้งที่ผ่านมาพิสูจน์ว่าคนชนบท และคนจนในเมือง ชื่นชมในนโยบายประชานิยมของรัฐบาล ไทยรักไทย และในเมื่อมีแค่พรรค ประชาธิปัตย์ ชาติไทย มหาชน และ ไทยรักไทย ให้เลือกในโลกจริง ชาวชนบทใช้วิจารณญาณและความคิดอิสระในการเลือกรัฐบาลของพรรคที่มีนโยบายชัดเจน ในขณะที่ชนชั้นกลางที่เคยนิยม ไทยรักไทย ในช่วงต้นๆ เปลี่ยนรสนิยมตามแฟชั่นและวิ่งตามฝูงโดยไม่มีความคิดอิสระ แถมยังดูถูกคนจน ไม่ไว้ใจการลงคะแนนเสียงในระบบประชาธิปไตย และหันมาเรียกร้องให้กษัตริย์แต่งตั้งรัฐบาลตามมาตรา 7 และหลังจากนั้นก็เชียร์รัฐประหาร
ปัญหาหลักของ ไทยรักไทย ไม่ได้อยู่ที่การสร้างระบบอุปถัมภ์ในชนบท และไม่ได้อยู่ที่การสร้างเผด็จการใดๆ หรือการคอร์รับชั่นเป็นพิเศษมากกว่าพรรคอื่นหรือองค์กรอื่นๆ แต่อยู่ที่การปราบปรามประชาชนในภาคใต้และในสงครามยาเสพติด พร้อมกับการใช้นโยบายเสรีนิยมกลไกตลาด ซึ่งทำลายประสิทธิภาพของนโยบายสวัสดิการของรัฐบาล ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งเป็นนโยบายที่ดีและก้าวหน้า เกิดข้อเสียเพราะมีงบประมาณไม่พอเนื่องจากรัฐบาลไม่ยอมเก็บภาษีเพิ่มจากคนรวย และใช้กลไกตลาดในการคิดบัญชีภายในระบบเอง ยิ่งกว่านั้นการเซ็นสัญญา FTA ที่ให้อภิสิทธิ์อันไม่ชอบธรรมแก่บริษัทยาที่สร้างกำไรจากลิขสิทธิ์ยาราคาแพง มีผลในแง่ลบต่อเป้าหมายของโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคอีกด้วย[13]
สรุป
ปัญหาประชาธิปไตยในไทย ไม่ใช่ปัญหาของการที่ประชาชนขาดการศึกษาหรือตกอยู่ในระบบอุปถัมภ์ แต่อย่างใด แต่ปัญหาประชาธิปไตยมาจากจุดยืนและการกระทำของอำมาตย์กับชนชั้นกลาง และการดูถูกไม่เคารพพลเมืองธรรมดาของนักวิชาการและผู้นำเอ็นจีโอ
อำมาตย์และพวกเสื้อเหลืองมองว่าเขาฝ่ายเดียวเข้าใจประชาธิปไตยและมีสิทธิ์ใช้อำนาจและอิทธิพลในสังคม แต่ฝ่ายเรามองว่าประชาธิปไตยแท้สร้างจากพลเมืองธรรมดา จากล่างสู่บน และขบวนการเสื้อแดงมีบทบาทสำคัญตรงนี้
7 กุมภาพันธ์ 2010