วันพุธที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

ยุ่งแล้ว.."สตช.-นายกฯ" ไม่มีอำนาจถอดยศ "ทักษิณ" เพราะอำนาจดังกล่าวเป็นของพระมหากษัตริย์

ทีมทนายแถลงการณ์โต้ถอดยศ"แม้ว" ชี้เป็นอำนาจพระมหากษัตริย์เท่านั้น ไม่ใช่หน้าที่ "สตช.-นายกฯ"


ผู้ สื่อข่าวรายงานว่านายพิชิต ชื่นบาน อดีตทนายความพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีในคดีที่ดินรัชดา ได้เผยแพร่แถลงการณ์ เรื่อง “ถอดยศและริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์”ของพ.ต.ท.ทักษิณ ลงวันที่ 28 ตุลาคมโดยมีเนื้อหาดังนี้



ตามที่ปรากฎเป็น ข่าวว่ารัฐบาล โดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติหาแนวทางเพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุ ญาตถอดยศและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของข้าราชการตำรวจ ซึ่งกรณีนี้น่าจะมุ่งหมายเพื่อดำเนินการถอดยศและริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยให้หารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความ เห็นว่า ถ้าข้าราชการตำรวจผู้ใดมีกรณีต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ไม่ว่าเป็นคำพิพากษาของศาลใด ย่อมอยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ 1(2) แห่งระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547และย่อมอยู่ในเหตุตามข้อ 7(2) แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2548



คณะที่ปรึกษากฎหมายและทนายความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ตรวจสอบความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายแล้ว เห็นว่า กรณีนี้ยังไม่สามารถ นำมาเป็นเหตุที่สมควรโดยชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในอันที่สำนักงาน ตำรวจแห่งชาติ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี จะอาศัยเป็นเหตุให้มีการถอดยศและริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรได้ โดยมีเหตุผลในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายดังนี้


(1) ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณฯในขณะนี้ คือ ได้มีประชาชนจำนวนหลายล้านคนเข้าชื่อจัดทำฎีกาทูลเกล้าฯต่อพระมหากษัตริย์ใน การขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งตามความหมายในการขอพระราชทานอภัยโทษ หมายถึง “การยกโทษทางอาญา เป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์” ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 191 ซึ่งพระราชอำนาจในการยกโทษทางอาญาเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ และมีความเป็นอิสระเด็ดขาด


ดังนั้นกรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ จึงเป็นกรณีที่อยู่ในระยะเวลาที่รัฐบาลมีหน้าที่จัดทำความเห็นถวายรายงานต่อ พระมหากษัตริย์ในเรื่อง การขอพระราชทานอภัยโทษให้เสร็จสิ้นกระบวนการเสียก่อน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี ไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะอาศัยเหตุตามคำพิพากษาถึงที่สุดที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณฯ มาดำเนินการเพื่อถอดยศและริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ ซึ่งจะเป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ยังมิได้ทรงมีพระบรม ราชวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว


(2) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 11 บัญญัติว่า “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์” และมาตรา 192 “พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการถอดถอนฐานันดรศักดิ์ และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์”


การถอดถอน ฐานันดรศักดิ์และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ถือเป็นพระราชอำนาจของพระมหา กษัตริย์โดยเฉพาะ เช่นเดียวกับพระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 191 และ พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ตามมาตรา 192 อีกทั้งรัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติว่า พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการถอดถอนฐานันดรศักดิ์และเรียกคืนเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายใด จึงถือเป็นพระราชอำนาจโดยเฉพาะของพระมหากษัตริย์ ที่จะประกาศเป็นพระราชบรมราชโองการ


ดังนั้น ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 ซึ่งอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 28 และระเบียบสำนักนายกรัฐนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2548 ถือเป็นระเบียบที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ต้องห้ามตามมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เนื่องจากระเบียบดังกล่าวไปกำหนดกฎเกณฑ์ เงื่อนไข การใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์


สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี ไม่มีหน้าที่ในอันที่จะถอดยศหรือริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ คงมีหน้าที่เพียงถวายรายงานต่อพระมหากษัตริย์ว่ามีข้อเท็จจริงใดที่เกิดขึ้น กับ พ.ต.ท.ทักษิณฯ เท่านั้น และการดำเนินการดังกล่าวต้องเป็นไปตาม มาตรา 3 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ ต้องยึด “ตามหลักนิติธรรม” และ คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 และหลักความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 , 31


(3) ก่อนที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะได้ออกระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 นั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติยังมิได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลี พระบาทต่อพระมหากษัตริย์เพื่อให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชา นุญาตในการออกระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการถอดยศตำรวจดังเช่น เดียวกันกับการที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่า ละอองธุลีพระบาทในอันที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาตใน การออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2548


ดังนั้น สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะดำเนินการในเรื่อง “ถอดยศ” ของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ แต่อย่างใด เพราะจะเป็นก้าวล่วงต่อพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ และไม่อาจจะอ้างว่าระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11(4) มาตรา 28 และมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ได้ เพราะ อำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่อาจขัดหรือแย้งกับพระราชอำนาจของพระมหา กษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 192


(4) โดยข้อเท็จจริงการดำเนินการเพื่อถวายรายงานต่อพระมหากษัตริย์ในการขอถอดยศ และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น มิใช่เป็นการบังคับว่าต้องทำทุกเรื่อง ซึ่งข้อเท็จจริงที่ผ่านมามีข้าราชการตำรวจและข้าราชการพลเรือนจำนวนมากที่ อยู่ในเงื่อนไขของระเบียบทั้งสองฉบับดังกล่าว แต่ก็ปรากฎว่าสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการเพื่อขอถอดยศตำรวจมีน้อยราย มาก รวมถึงการเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของข้าราชการเหล่านั้นด้วย กรณีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พฤติการณ์ในคดีที่ศาลมีคำพิพากษาให้จำคุก มิใช่เป็นเรื่องของการกระทำโดยตรงของ พ.ต.ท.ทักษิณฯเองและมิใช่เป็นเรื่องของการทุจริตหรือการประพฤติชั่วร้ายแรง ใดๆ รัฐบาลกลับเลือกปฏิบัติที่จะดำเนินการกับ พ.ต.ท.ทักษิณฯ เพื่อมุ่งหวังทำลายเกียรติยศชื่อเสียงของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ โดยเฉพาะ กรณีจึงเห็นเจตนาของรัฐบาลโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณและนายกรัฐมนตรีว่าต้องการใช้ระเบียบดังกล่าวเป็นเครื่องมือ ทำลาย พ.ต.ท.ทักษิณฯในทางการเมืองเท่านั้น

///////////////////

นายกทักษิณ ชินวัตร

เครื่องราชที่ได้รับดังนี้

เครื่อง ราช ตั้งแต่รับราชการ ยศ ร้อยตำรวตรี จน ลาออก แล้ว รับเครื่องราชสูงสุด ปี 2545 พร้อมนายกสมัคร สุนทรเวช (ทจว .ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2517 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
พ.ศ. 2519 จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
พ.ศ. 2523 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
พ.ศ. 2528 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
พ.ศ. 2537 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2538 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2539 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
พ.ศ. 2544 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)
พ.ศ. 2545 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.)
-------------------------------------------------


2009 The Most Blessed Order Of Setia Negara Brunei ชั้นหนึ่ง (P.S.N.B)
รางวัลที่ได้รับ
Outstanding Criminal Justice Alumnus Awards จาก Criminal Justice Center, มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตท (พ.ศ. 2539)
Distinguished Alumni Award จากมหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตท (5 ตุลาคม พ.ศ. 2539)
1 ใน 3 คนไทยดีเด่น ซึ่งมีบทบาทสำคัญ ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างประเทศไทย และฟิลิปปินส์ จากสถานทูตฟิลิปปินส์ประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2538)
บุคคลดีเด่นผู้พัฒนาโทรคมนาคม เพื่อสังคมของประเทศไทย ประจำปี 2536 จากสมาคมโทรคมนาคม แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2537)
1 ใน 12 นักธุรกิจผู้นำของเอเชีย ได้รับยกย่องจากหนังสือพิมพ์ Singapore Business Times (พ.ศ. 2537)
Asian CEO of the Year จาก นิตยสาร Financial World (พ.ศ. 2537)
รับพระราชทาน ปริญญาวารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2537)
ทุน Lee Kuan Yew Exchange Fellowship จากประเทศสิงคโปร์ คนไทยคนแรก และเป็นบุคคลที่ 3 ที่ได้รับทุน (พ.ศ. 2537)
"1992 Asean Business Man of the Year" จาก Asean Institute ประเทศอินโดนีเซีย (พ.ศ. 2535)
"รางวัลเกียรติยศจักรดาว" ด้านพัฒนาเศรษฐกิจจากคณะกรรมการมูลนิธิโรงเรียนเตรียมทหาร (พ.ศ. 2535)
----------------------------------------------------------------------------------------------
การศึกษา
พ. ต.ท.ดร.ทักษิณ จบการศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย และศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 (พ.ศ. 2512) และโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26 (พ.ศ. 2516) โดยสอบได้คะแนนเป็นที่หนึ่งของรุ่น[7] มีฉายาที่ได้รับจากสื่อมวลชนว่า “แม้ว” เนื่องจากเป็นฉายาที่เพื่อนร่วมรุ่น โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10 (ตท.10) ตั้งให้

ต่อมา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท โดยได้รับทุน ก.พ. ศึกษาต่อสาขากระบวนการยุติธรรม ทีมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเคนทักกี สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2518 และได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ในสาขาเดียวกัน ที่ มหาวิทยาลัยแซมฮิวสตันสเตต ได้รับดุษฎีบัณฑิตในปี พ.ศ. 2521

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยังได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษแห่งมหาวิทยาลัยทากุโชกุ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[ต้องการแหล่งอ้างอิง]

การรับราชการและธุรกิจ
พ. ต.ท.ดร.ทักษิณได้เริ่มทำงาน โดยเป็นหัวหน้าแผนกแผน 6 กองวิจัยและวางแผน กองบัญชาการตำรวจนครบาล รองผู้อำนวยการศูนย์ประมวลข่าวสาร กองบัญชาการตำรวจนครบาล และอาจารย์ประจำโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ตามลำดับ
-----------------------------------------------------------------------------------------
ยังไม่รวมเครื่องราชที่กษัติรย์ต่างประเทศมอบให้

///////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น